365

WECARE

Red Yeast Rice ข้าวยีสต์แดง

 

     ข้าวยีสต์แดงเกิดจากการหมักข้าวด้วยเชื้อรา Monascus purpureus หรือที่เรียกว่ายีสต์แดง (RedYeast) จากการศึกษาคุณสมบัติ ทางชีวเคมีและทางยาของสารสำคัญในข้าวยีสต์แดง (Red Yeast Rice) พบว่า ข้าวยีสต์แดงมีสารที่มีคุณประโยชน์หลายประการ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ สาร GABA สารกลุ่มโมนาโคลิน ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล และลดไตรกลีเซอไรด์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ บำรุงการไหลเวียนโลหิต ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ

 

     ในปัจจุบันในมีการนำสารสกัดยัสต์แดงมาใช้โดยที่ผลิตทั่วไปนั้นได้มาจากการนำเอาข้าวที่มีสีน้ำตาลหรือสีดำเป็นข้าวกล้องมาทำการหมักและในกระบวนการหมักข้าวจะใส่เชื้อยีสต์ลงไป จากนั้นก็นำไปสกัดเพื่อเอา “สารสตาติน” กับ “โมนาโคลิน เค” ออกมาเพื่อนำมาเป็นยาละลายไขมันในร่างกายคนที่มีไขมันสูง

 

ประโยชน์ของยีสต์แดงenlightened

ʕ·ᴥ·ʔ รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย

ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ʕ·ᴥ·ʔ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี

ʕ·ᴥ·ʔ รักษาอาการท้องร่วง

ʕ·ᴥ·ʔ ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต

ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในการของม้ามและกระเพาะอาหาร

 


กลไกการออกฤทธิ์ของยีสต์แดง

 

     เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับยีสต์แดง ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยีสต์แดงมีสารคล้ายกับยาสแตตินซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

 


ข้าวยีสต์แดง ลดไขมันได้ yes


     ก่อนอื่นเลย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดจากเฟซบุคเพจ 1412 Cardiology ระบุว่า ข้าวยีสต์แดง ปลอดภัย กินได้ และลดไขมันในเลือดได้จริง แต่จากส่วนประกอบของข้าวยีสต์แดง ไม่ควรเป็น “อาหารเสริม” แต่ควรเป็น “ยา” ที่ต้องใช้ผ่านการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

 

 

อันตรายจาก “ข้าวยีสต์แดง” 

 

     เมื่อมีส่วนประกอบที่มีโครงสร้างคล้ายยา Statin จึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำในการใช้จากแพทย์อย่างใกล้ชิดเหมือนกันกับการยา Statin หากเป็นผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงอยู่แล้ว การรับประทานข้าวยีสต์แดงเพิ่มหลังจากกินยาตามแพทย์สั่ง อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับยาลดไขมันมากเกินไป ผู้ป่วยที่กินอาจเกิดภาวะตับอักเสบ หรือ กล้ามเนื้ออักเสบ ตามมาได้ โดยเฉพาะถ้าหากใช้ยาลดไขมัน หรือยาตัวอื่นๆ ของโรงพยาบาลอยู่ด้วย


     นอกจากนี้ ในแง่ของความปลอดภัย ข้าวยีสต์แดงยังไม่มีรายงานรับรองความปลอดภัยหลังการทดลองใช้กับคน และสัตว์ทดลองอย่างละเอียด ดังนั้นในแง่ของการปรับขนาดยาให้สมดุล มีแระสิทธิภาพต่อคนที่กิน ยังไม่ชัดเจนมากพอนั่นเอง

 

 

วิธีลดไขมัน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด 

 

  1. 1. หลีกเลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัว ให้น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ได้รับจากอาหารทั้งหมด ไขมันชนิดนี้มักจะอยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมันหมู นม เนย

 

  1. 2. หลีกเลี่ยงกรดไขมันประเภททรานส์ หรือกรดไขมันที่เกิดจากการแปรรูปพบได้ในอาหารประเภท คุกกี้ บิสกิต พาย เบเกอรี่ และขนมอบ

 

  1. 3. เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย ผลไม้และผัก ทุกวัน

 

  1. 4. กินปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง

 


คำแนะนำในการรับประทาน


ʕ·ᴥ·ʔ ขนาดการใช้ยีสต์แดงปกติอยู่ที่เท่าไรข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ การรับประทาน

ʕ·ᴥ·ʔ สำหรับการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง: รับประทานยีสต์แดง 1,200 – 2,400 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ʕ·ᴥ·ʔ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสแตติน เท่านั้นที่มีเอกสารกำกับยาว่า ใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งมีผลายผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสารโลวาสแตตินปริมาณ 5-10

ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวี: รับประทานยีสต์แดงปริมาณ 1,200 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน

ʕ·ᴥ·ʔ ปริมาณการใช้ยีสต์แดงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

 

สรรพคุณของข้าวยีสต์แดง yes
 

ข้าวยีสต์แดงเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข้าวหมักจากจุลินทรีย์ สกุล โมแนสคัส เพอเพียวริอุส

ʕ·ᴥ·ʔ รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย

ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ʕ·ᴥ·ʔ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี

ʕ·ᴥ·ʔ รักษาอาการท้องร่วง

ʕ·ᴥ·ʔ ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต

ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในการของม้ามและกระเพาะอาหาร

 


ข้อควรระวังในการรับประทาน 


   เนื่องจากสารออกฤทธิ์ในข้าวยีสต์แดง คือสารตัวเดียวกับในยาลดไขมันกลุ่ม statin ดังนั้นจึงอาจมีผลข้างเคียงได้เหมือนกับที่พบในยาลดไขมัน statin เ่ช่น มีผลต่อตับ เอนไซม์ตับขึ้นผิดปกติ การปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อถูกทำลายนอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่ละอันก็แตกต่างกัน บางผลิตภัณฑ์มี statin น้อยมากหรือไม่มีเลย ส่วนบางผลิตภัณฑ์มี statin มาก โดยยิ่งมีมากยิ่งอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆได้มากขึ้นเช่นกัน


   ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ยีสต์แดงอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อครรภ์ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยีสต์แดงในระหว่างตั้งครรภ์และห้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย
โรคตับ : ยีสต์แดงมีสารที่คล้ายกับสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตับได้ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่ายีสต์แดงอาจเป็นอันตรายต่อตับ แต่ได้มีบางงานวิจัยแย้งว่ายีสต์แดงสามารถช่วยปรับปรุงระบบการทำงานในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยีสต์แดงงอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการข้างต้น
มีอาการแพ้อื่น ๆ : เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ


   ผู้ที่รับประทานแอลกอฮอล์ : หรือ ยาที่มีผลต่อตับ หรือ กล้ามเนื้อ เนื่องจากข้าวยีสต์แดงอาจมีผลต่อตับและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นได้ เช่น ยาลดไขมัน statin, gemfibrozil, พาราเซตามอล, ยารักษาเชื้อรา, ยากันชัก, ยารักษาวัณโรค, ไนอะซิน
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยีสต์แดงนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

1. WebMD. Red Yeast [Website]. 2018[cited 2018 July 10]. Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-925/red-yeast 61. Cunningham E. Is Red Yeast Rice Safe and Effective for Lowering Serum Cholesterol? J Am Diet Assoc 2011 Feb.;111(2):324. 62. Liu J, Zhang J, Shi Y, Grimsgaard S, Alraek T, Fønnebø V. Chinese red yeast rice(Monascus purpureus) for primary hyperlipidemia: a meta-analysis of randomized controlled trials. Chin Med 2006;1(1):4. 63. Lu Z, Kou W, Du B, Wu Y, Zhao S. Effect of Xuezhikang, an extract from red yeast Chinese rice, on coronary events in a Chinese population with previous myocardial infarction. The American journal of … 2008; 64. Becker D, Gordon R, Halbert S. Red yeast rice for dyslipidemia in statin-intolerant patients. Annals of internal … 2009; 65. Halbert SC, French B, Gordon RY, et al. Tolerability of red yeast rice (2,400 mg twice daily) versus pravastatin (20 mg twice daily) in patients with previous statin intolerance. Am J Cardiol 2010 Jan.;105(2):198-204.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น