365

WECARE

Fructo-oligosacharide (FOS) หรือ Oligofructose

 

     ฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ (fructo-oligosaccharide) หรือ โอลิโกฟรุกโทส (oligofructose) เป็นโอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) คือกลุ่มน้ำตาลฟรุกโตส หรือกลุ่ม พรีไบโอติกส์ที่เป็นอาหารของโปรไบโอติก เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยไม่ได้ หรืออาหารของจุลินทรีนั่นเอง พบได้ใน พืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ไฟเบอร์จากแอปเปิ้ล  ไฟเบอร์จากหัวบุก หัวหอมใหญ่ ไฟเบอร์จากข้าวโอ๊ต อาร์ติโชค และรากของพืชชิโครี่

 

    ฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ (fructo-oligosaccharide) หรือ โอลืโกฟรุกโทส  เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ทดแทนน้ำตาล (sugar substitute) มีรสชาติหมือนกับน้ำตาล ใช้เป็นสารให้ความหวานที่ให้พลังงานต่ำกว่าน้ำตาลทราย (relative sweetness 30-50% เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำตาล sucrose) และละลายในน้ำได้ดี ใช้ในอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากไม่สารมารถย่อยได้ในร่างกายมนุษย์ เป็นสารที่แบคทีเรียในช่องปากไม่สามารถย่อยสลายให้เกิดกรดได้ จึงไม่เป็นสาเหตุทำให้ฟันผุ

 

FOS ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากอาหาร


     เนื่องจาก ค่าดัชนีน้าตาล (glycemic Index, GI) มีความสัมพันธ์กับโรค หลายๆ ชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดท่ี 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นค่าดัชนีน้าตาล จึงเป็นค่าหน่ึงท่ีกำหนดในการเลือกอาหารบริโภค เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่กล่าวมา โดยเฉพาะการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน และเราพบว่ามนุษย์ไม่สามารถย่อยอินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ได้ จึงทำให้ไม่ถูกย่อยเป็นน้ำตาลและไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ค่า GI จึงเกือบเป็นศูนย์
     การศึกษาที่ผ่านมาของการบริโภคฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ปริมาณ 8 กรัม นาน 2 สัปดาห์ ช่วยลดระดับน้าตาลหลังอดอาหาร (fasting blood glucose) ในผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ในผู้มีสุขภาพดี การควบคุมระดับน้ำตาลหลังอดอาหารได้น้ัน เกิดจากกรดท่ีได้จากกระบวนการหมักเส้นใยจากจุลินทรีย์ในลำไส้ โดยเฉพาะกรด โพรพิโอนิกที่สามารถช่วยยับยั้งกระบวนการสร้าง น้ำตาลจากตับ (hepatic gluconeogenesis) การเลือกบริโภค FOS จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

 

     เพิ่มสาระอีกนิด ยังมีการศึกษาพบว่า อินนูลินและโอลิโกฟรุกโตส โดยจากรายงานการศึกษาของ Griffin  และคณะ แสดงผลของการใช้ FOS อย่างเดียว และ การใช้ร่วมกันของอินนูลินและ FOS เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมนาน 3 สัปดาห์ พบผลการดูดซึมแคลเซียมดีจนแตกต่างจากกลุ่มควบคุมสูงถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะกลุ่มที่ ได้รับอินนูลินและFOSร่วมกันให้ผลดีที่สุด
 

     นอกจากนั้นยังพบประโยชน์ในการช่วยดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม เหล็กและสังกะสี จึงนิยมให้ในวัยเจริญพันธุ์เพื่อเป็นตัวเสริมในการเจริญเติบโตและใช้ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในอนาคตของวัยทอง

 

ฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ (fructo-oligosaccharide) หรือ โอลิโกฟรุกโทส (oligofructose) พรีไบโอติก (prebiotics)  คือสารอาหาร ที่ร่างกายไม่สามารถจะย่อยได้เมื่อผ่านเข้าไปถึงบริเวณ ล าไส้ใหญ่จะกลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ส่งเสริมการ เจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดังนั้น พรีไบโอติกจึงเป็น ประโยชน์ต่อแบคทีเรียในล าไส้ใหญ่ เพราะมันจะกลายเป็น อาหารของแบคทีเรียในล าไส้ใหญ่ สารกลุ่มนี้ ได้แก่ อินูลิน (inulin) โอลิโกฟรุคโตส โดยเฉพาะในพวก Fructooligosaccharides (FOS) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ เกิดจากโมเลกุลน้ าตาลฟรุกโตสมาเชื่อมต่อกันเป็น สายยาว FOS พบได้ในธรรมชาติ เช่น ในพวกหัวหอม ผักลีค (leeks) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหอม เมล็ดธัญพืชบาง ชนิด และในน้ าผึ้ง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่บริโภคโยเกิร์ตก็เพื่อบริโภค โปรไบโอติก หรือบริโภคอาหารที่มีพรีไบโอติกเป็น ส่วนประกอบ และบริโภคอาหารลดความอ้วนที่มีพรีไบ โอติกเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะได้ บริโภคอาหารที่มีโปรไบโอติกซึ่งมีส่วนประกอบของพรีไบ โอติกไปพร้อมๆ กัน 

 

ประโยชน์ของ Fructo-oligosacharide

 

1.  ช่วยปรับสมดุลระบบขับถ่ายให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แก้โรคท้องผ

2.  ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดที่ดี และยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

3.  ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย โดยการกำจัดสารพิษที่อยู่ในลำไส้

4.  ช่วยส่งเสริมการดูดซึมของลำไส้ ทำให้ดูดซึมแคลเซี่ยมและโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์

5.  ชะลอความแก่

6.  มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 สารต้านอักเสบที่ดีที่สุด

7.  ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

8.  ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

9.  ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์

 

แถมยังช่วยรักษาความสมดุล ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีก
จากรายงานการบริโภค อินนูลิน หรือ ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ ประมาณ 8 – 20 กรัม นานกว่า 4 สัปดาห์ ช่วยควบคุมระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีนัยสาคัญ ด้วยกลไกการ ควบคุมจากการเกิดอะซิเตต (acetate) และโพรพิโอเนต (propionate) ท่ีสร้างข้ึนจากกระบวนการหมักอินนูลิน และฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ในลำไส้ นอกนั้นการศึกษาของ Letexier และคณะพบว่าการบริโภคอินนูลินปริมาณ 10 กรัม สามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการลดสร้างไขมันจากตับ (lipogenesis)

 

Fructo-oligosacharide ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เนื่องจากอินนูลิน และFOS เป็นใยอาหารท่ีอุ้มน้าได้ดี ช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหารในลำไส้จึง กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น และในขณะที่กากใยเหล่านี้เกิดการหมักจากแบคทีเรียที่ดีจึงทำให้สร้างกรดบิวทิริกและกรดโพรพิโอนิก ซึ่งสามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ รวมท้ังการใช้ประโยชน์ร่วมกัน (synbiotic) ของใยอาหารอินนูลิน,FOS และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ตระกูล Lactobacillus และ Bifidobacterium ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมากขึ้น

 

ข้อควรระวังในการรับประทาน enlightened

1. Roberfroid MB. Prebiotics and probiotics: are they functional foods?, Am J ClinNutr2000;71(suppl): 1682S-1687S. 2. Hawrelak JA. Prebiotics. In: Pizzorno JE, Murray MT (ed.). Textbook of natural medicine, 3rd ed. Missouri. Churchill Living Stone, 2006: pp.1183-1194. 3. Gibson GR, Roberfroid MB (ed.). Handbook of prebiotics. New York. CRC Press, 2008: pp.1-473. 4. Molis C, Flourie B, Ourane F, et al. Digestion, excretion and energy value of fructo-oligosaccharides in healthy humans. Am J ClinNutr 1996;64:324-328. 5. Roberfroid MB. Caloric value of inulin and oligofructose. J Nutr1999;1436 S-1437S. 6. Niness KR. Inulin and oligofructose: what are they? J Nutr1999;129:1402S-1406S. 7. Gibson GR, Roberfroid MB. Dietary modification of the human colonic microbiota: introducing the concept of prebiotics. J Nutr1995;125:1401-1412. 8. Yun JW. Fructooligosaccharide-occurrence, preparation and application. EnzymMicrobTechnol1996;19:107-117. 9. Roberfroid MB. Dietary fiber, inulin and oligofructose: a review comparing their physiological effects. Crit Rev Food SciNutr1993;33:103-148. 10. Roberfroid MB, Delzenne NM.Dietary fructans. Ann Rev Nutr1998;18(1):117-143. 11. Gibson GR. Dietary modulation of the human gut microflora using the prebioticsoligofructose and inulin. J Nutr1999;129:1438S-1441S. 12. Silk DBA.Fiber and enteral nutrition. Gut 1989;30:246-264. 13. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, พจนา จิตตวัฒนรัตน์. Fiber diet in enteral nutrition.วารสารโภชนบำบัด 2549;17(3): 124-142.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น