ขิง ( Ginger ) คือ พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคนใช้ขิงสดทั้งแบบขิงอ่อน ขิงแก่ และใช้ขิงแห้งในการประกอบอาหาร เครื่องเทศ และใช้ทั้งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ยาแผนโบราณ และยาแผนปัจจุบัน จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีสารสำคัญในเหง้าขิงสดประกอบด้วย ซิงจิเบอรีน ( zingiberene ) ฟีนอลิก ( phenolic ) ที่ทำให้ขิงมีกลิ่นหอมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยป้องกันและรักษาโรคข้ออักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ในส่วนของขิงสดอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย เป็นต้น ขิง เป็นพืชเขตร้อนที่เติบโตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe ลักษณะของลำต้นสีเขียวเข้มแตกหน่อขึ้นเป็นกอสูงประมาณ 50 -70 เซนติเมตร เปลือกซ้อนกันเป็นกาบยาว ใบเดี่ยวเรียวยาวออกสลับกัน ดอกสีขาว มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน
เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่โดดเด่นเรื่องรสชาติ และกลิ่น ไม่ว่าจะนำมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่ม หรือเป็นเมนูของหวาน ต่างก็ล้วนให้สรรพคุณที่ดีต่อร่างกายทั้งสิ้น ขิงอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็กฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต เส้นใย และโปรตีน
✿ แก้อาการเมารถเมาเรือ
✿ แก้ปัญหาผมขาดร่วง
✿ ช่วยลดอาการท้องอืด
✿ บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
✿ บรรเทาอาการไมเกรน
✿ ลดความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง
✿ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
✿ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
✿ รักษากรดไหลย้อน
✿ ช่วยรักษาโรคต่างๆ อีกมากมาย
ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคขิงมากเกินไปที่กำหนดไว้ที่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทาน : เมื่อทานขิงในปริมาณที่เหมาะสมผลข้างเคียงไม่รุนแรง อาจรู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องเสีย การใช้ขิงกับผิว : ขิงมีความปลอดภัยสูงเมื่อใช้กับผิวอย่างเหมาะสมในระยะสั้น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังในบางคนหรือสำหรับคนผิวแพ้ง่าย
1. ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ✿
ฤทธิ์ขับลมเกิดจากสาร menthol, cineole, shogaol และ gingerol กระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อที่ระบบทางเดินอาหารให้มีการบีบตัวมากขึ้น จึงเกิดการขับลมออกมา ฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ำดี ในลําไส้เล็กส่วนต้นของหนูถีบจักร โดยสารสกัดอะซิโตนของเหง้าขิง แต่สารสกัดน้ำของเหง้าขิงไม่มีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ำดี
2. ฤทธิ์ลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ✿
เมื่อป้อนหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ wistar ด้วยสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิง ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. และยามาตรฐาน sulfasalazine ขนาด 500 มก./กก. ก่อนเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นเหนี่ยวนำให้หนูเกิดการอักเสบ และเป็นแผลที่ลำไส้ใหญ่ด้วยกรดอะซีติก 3% แล้วทำการศึกษาต่อไปอีก 7 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine มีผลลดอาการบวม และอักเสบของลำไส้ โดยดูจากจำนวน และขนาดของแผลที่ลำไส้ใหญ่ที่ลดลง
3. ฤทธิ์แก้ท้องเสีย ✿
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขิงต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยให้สาร zingerone ซึ่งเป็นสารที่มีรสเผ็ดร้อน แยกมาจากน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าขิง แก่หนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์ wistar โดยให้สาร zingerone บริเวณช่องว่างของลำไส้ เพื่อให้ซึมผ่านไปยังผนังลำไส้ บันทึกผลโดยดูการหดตัวของลำไส้ใหญ่จากลำไส้หนูที่แยกออกมานอกร่างกาย
4. ฤทธิ์ลดการหดเกร็งของลำไส้ ✿
การศึกษาฤทธิ์ต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ในหนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์ wistar โดยการตัดลำไส้เล็กส่วน Ileum ของหนู และกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กโดยใช้กระแสไฟฟ้า (electrical stimulation ; EFS) หรือ acetylcholine แล้วทำการให้สารสกัดขิงในขนาด 0.01–1000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร หลังจากนั้น 15 นาที บันทึกผลการทดสอบพบว่าสารสกัดขิงสามารถยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กจากการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (EPS) และ acetylcholineได้ โดยจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวที่แรงกว่าในกรณีที่ถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (EPS)
5. ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ✿
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (myeloma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (WiDr) ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แยกได้จากหนู และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้จากคน โดยใช้สารสกัดเอทานอลที่ได้จากขิง, ดีปลี, และสารสกัดผสมระหว่างสารสกัดเอทานอลที่ได้จากขิงกับสารสกัดเอทานอลที่ได้จากดีปลีในอัตราส่วน 1:1ตรวจสอบโดยวิธี MTT cytotoxic assay ใช้ยา doxorubicin เป็นสารมาตรฐาน
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง