ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สีเหลืองที่สดใสของขมิ้นที่ผ่านกระบวนการผลิตนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้หลายวัฒนธรรมใช้เป็นสีย้อม นิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหารอีกทั้งยังใช้ทำเป็นยา ใช้ทั้งรูปแบบผงและแบบเหง้า ได้แก่ ผงกะหรี่ แคปซูล, ชา, ผงและสารสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ขมิ้นที่มีขายในท้องตลาด สารกลุ่ม curcuminoid มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านปรสิต ต้านการกลายพันธุ์ ต้านมะเร็ง และสามารถป้องกันความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษ เป็นต้น
ʕ·ᴥ·ʔ บรรเทาอาการปวด
ทางการแพทย์นิยมใช้ผงขมิ้นเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด และสามารถป้องกันอาการปวดข้ออักเสบได้เช่นกัน
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยปรับปรุงการทำงานของตับ
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสามารถป้องกันความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษ นี่อาจเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ทานยาแรง ๆ สำหรับโรคเบาหวานหรือภาวะสุขภาพอื่นๆ
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
มีรายงานว่า curcumin มีฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก และะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมา ในด้านทางการแพทย์นิยมใช้ผงขมิ้นเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคต่างๆได้
ʕ·ᴥ·ʔ สามารถช่วยย่อยอาหาร
ส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ขมิ้นอยู่ในผงกะหรี่เป็นเพราะมันเพิ่มองค์ประกอบของความอร่อยให้กับอาหาร แต่ขมิ้นก็มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร เนื่องจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบขมิ้นสามารถช่วยในการย่อยอาหารเพื่อสุขภาพ
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในต้านการอักเสบ
สำหรับในสตรีมีครรภ์ ขมิ้นชันอาจทำให้เกิดการแท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ขมิ้นชันกับหญิงมีครรภ์ โดยการใช้ขมิ้นชันในปริมาณมากๆ อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น
✿ ฤทธิ์ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร
Curcumin ช่วยป้องกัน และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น กระตุ้นการหลั่งเมือก (mucin) มาเคลือบกระเพาะอาหารและยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจาก ag-turmerone และ curcumin การทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องจากแผลในกระเพาะอาหารให้ผลการรักษาเทียบเท่ายาลดกรด (ซึ่งมีตัวยา magnesium trisilicate)
✿ ฤทธิ์ลดการอักเสบ
การศึกษาแบบสุ่ม ปกปิดสองฝ่ายเทียบกับยาหลอกและทดลองให้ยาแบบสลับกลุ่มกัน (randomized, double-blind, placebo controlled, cross-over study) ในผู้ป่วยข้อกระดูกอักเสบเรื้อรังจำนวน 42 คน โดยใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้น 50 มิลลิกรัม/แคปซูล 650 มิลลิกรัม พบว่าการได้รับยาสมุนไพรดังกล่าวสามารถลดความเจ็บปวดที่รุนแรงได้
✿ ฤทธิ์ต้านการแพ้
โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารhistamine (สารสื่อกลางที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้)
✿ ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ
โดยขมิ้นมีผลยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและสารพิษที่สร้างโดยแบคทีเรียหลายชนิดในหลอดทดลอง และยับยั้งการเจริญเติบโต และฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด
✿ ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
พบว่า สารสกัดของขมิ้นสามารถป้องกันการทำลายตับของหนูจากยาพาราเซตามอล D-galactosamine เอทานอล ได้จากผลการทดลองกับเซลล์ตับในหลอดทดลอง
นอกจากเราจะเราสามารถนำขมิ้นชันไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร ใช้ย้อมสี หรือใช้เพิ่มกลิ่นให้กับอาหารแล้ว ในขมิ้นชันยังมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เกลือแร่ เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เริ่มเล่าเท้าความถึงขมิ้นชันนั้น เป็นไม่ล้มลุกอายุหลายปี ความสูงของลำต้นเพียง 30 – 90 เซนติเมตรเท่านั้น มีเหง้าใต้ดิน ส่วนตรงกลางมีขนาดใหญ่รูปไข่ มีแขนงแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ที่อยู่ตรงข้ามกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม คนไทยรู้จักกันในฐานะของพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ปัจจุบันยังได้เพิ่มการแต่งสี แต่งกลิ่น เพิ่มรสชาติให้อาหารมีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวน ไก่ทอด แกงไตปลา มัสตาร์ด เนย มาการีน เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของการที่คนเราหันมารับประทานขมิ้นชันนั้น เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากชาวอินเดีย หรือที่เรียกว่า ชาวภารตะ ที่นิยมกินขมิ้นชันกันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ส่วนคนไทยก็มีความนิยมกินขมิ้นชันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้นิยมใส่ขมิ้นชันลงไปในอาหารประเภทแกงเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีสีเหลืองและยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้อีกด้วย รวมทั้งการใส่ลงไปในอาหารก็จะช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย เพราะในขมิ้นชันมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้น การใช้ขมิ้นชันในอาหารจะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันและไขมันเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานานๆ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบในการช่วยถนอมอาหารและยังมีคุณค่าทางโภชนาการให้อาหารได้อีกด้วย
✿ การใช้ขมิ้นเพื่อรักษาอาการแน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย
วิธีใช้
1.รับประทานผงขมิ้นชันในขนาด 1.5 – 4 กรัม/วัน แบ่งเป็นวันละ 3 – 4 ครั้ง ช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน
2.ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3 – 5 เม็ด วันละ 3 เวลา
✿ การใช้ขมิ้นรักษาอาการท้องเสีย
วิธีใช้
1.ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3 – 5 เม็ด วันละ 3 เวลา
✿ การใช้ขมิ้นรักษาแผลและแมลงกัดต่อย
วิธีใช้
1.ใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2 – 3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล
2.นำขมิ้นชันมาล้างให้สะอาดแล้วตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำที่ได้มาใส่แผล
3.เอาขมิ้นชันผสมกับน้ำปูนใสเล็กน้อย จากนั้นให้ผสมสารส้ม หรือดินประสิว พอกบริเวณที่เป็นแผลและแก้เคล็ดขัดยอก
✿ การใช้ขมิ้นเพื่อรักษากลาก เกลื้อน
วิธีใช้
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง