365

WECARE

กรดไขมันแกมม่า ไลโนเลอิค แอซิด Gamma linoleleic acid

 

     การมีสุขภาพร่างกายที่สมดุลและมีสุขภาพจิตที่ดีเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกคน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงในระยะก่อนมีประจำเดือน ซึ่งมักมีอาการอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจนอาจทำให้เสียสมดุลชีวิตในช่วงนั้นได้ เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อย สิวขึ้น หรืออารมณ์หงุดหงิดง่าย เป็นต้น แม้จะเป็นอาการตามธรรมชาติที่ผู้หญิงจำนวนมากต้องเผชิญ แต่มีหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาภาวะเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการใช้สารอาหารต่างๆ เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ ตังกุย และขิง

 

     อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน หรือกลุ่มอาการ PMS (PREMENSTRUAL SYNDROME) ผู้หญิงก่อนมีประจำเดือนจะมีสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงทำให้อาจเกิดกลุ่มอาการป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการ ดังนี้

 


GLA เกี่ยวข้องกับ PMS อย่างไร 

     กรดไขมันแกมม่า หรือ GLA (Gamma-Linolenic Acid) เป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดหนึ่ง ในกลุ่มโอเมก้า 6 ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องสร้างจากกรดไขมันจำเป็นคือ ไลโนเลอิก แอซิด หรือ LA (Linoleic Acid) GLA จึงนับเป็นกรดไขมันพิเศษที่ให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามเป็นอย่างมาก โดยช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดอาการบวม ปวด แดง ที่เกิดจากการอักเสบ

     อ้างอิงจากหนังสือ Fats That Can Save Your Life (Progressive Health Publishing) โดย Robert Erdmann, Ph.D. และ Meirion Jones กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี GLA สามารถช่วยลดอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 90% เช่น อาการคัดหน้าอก อาการบวม อารมณ์หงุดหงิด และอาการระคายเคือง แพ้ง่าย

 

     เราสามารถพบกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก แอซิด หรือ GLA ได้ในสารอาหารหลายชนิด เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ ตังกุย และขิง

 

  1. 1.น้ำมันอีฟนิงพริมโรส หรือ EPO (EVENING PRIMROSE OIL)

     บางคนเรียกว่าน้ำมันเมล็ดอีฟนิงพริมโรส หรือ EPSO (Evening Primrose Seed Oil) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มไขมันหรือลิพิดอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมานาน สารสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน EPO คือกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก แอซิด หรือ GLA ในกลุ่มโอเมก้า 6

     EPO ถูกนำมาใช้รักษาหรือป้องกันอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน มีบางรายงานแนะนำขนาดที่รับประทานของ EPO คือ ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือประมาณวันละ 1-2 กรัม โดยรับประทานล่วงหน้า 3 วันก่อนมีอาการ PMS หรือ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน     และอาจร่วมกับสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 6 (50 มก./วัน) ธาตุสังกะสี (10 มก./วัน) วิตามินซี (500 มก. – 3 กรัม/วัน) หรือรับประทานผักผลไม้และอาหารทะเลให้มากขึ้น งดชา กาแฟ

 

  1. 2.น้ำมันโบราจ (STARFLOWER)

     เมล็ดของโบราจให้กรดไขมัน GLA ในปริมาณสูงถึง 24-25% นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันชนิดอื่นๆ อีก เช่น ไลโนเลอิก แอซิด (LA) ปาล์มิติก แอซิด (Palmitic Acid) สเตียริก แอซิด (Stearic Acid) เป็นต้น

 

  1. 3.ตังกุย (DONG QUAI)

     เป็นพืชในตระกูลพาร์สลีย์ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยาคือราก ตังกุยประกอบด้วย เฟรูลิก เอซิด (Ferulic Acid) น้ำมันหอมระเหย รวมถึง Ligustilide ในตำราแพทย์แผนจีน รากของตังกุยมีคุณสมบัติในการปรับสมดุลของระบบเลือดและสมดุลพลังงาน และบ่อยครั้งใช้แก้ปัญหาทางด้านระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรี เป็นสมุนไพรที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศจีน

     รากของตังกุยมีประโยชน์ต่อระบบเลือดและช่วยปรับสมดุลพลังงานของชีวิต ใช้บ่อยในสตรีที่มีความผิดปกติขณะมีประจำเดือน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ส่วนในทางซีกโลกตะวันตกใช้ในการปรับเปลี่ยนและควบคุมระบบสืบพันธุ์ของสตรีให้เป็นปกติ ให้ร่วมกับการรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome; PMS) ประจำเดือนมาช้า และอาการในวัยหมดประจำเดือน

 

  1. 4.ขิง (GINGER)

     ขิงช่วยปกป้องร่างกายจากความชื้นและความหนาวเย็น ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มีหลายส่วน เช่น รากสด เหง้าแห้ง น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากเหง้าแห้ง เป็นต้น ขิงประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือ Gingerol และ Shogaol ช่วยยับยั้งผลของซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงลดอาการปวดประจำเดือนได้

 

     สารอาหารต่างๆ เหล่านี้เมื่อนำผสมผสานกันจะให้คุณประโยชน์ต่างๆ แก่ร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องเผชิญภาวะอาการก่อนมีประจำเดือนที่รบกวนชีวิตประจำวันทุกเดือน

 

กรดไขมันแกมม่าใช้สำหรับ

     กรดไขมันแกมม่า (GLA) เป็นไขมันที่พบได้ในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันโบราจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส นิยมใช้เป็นยารักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

   เส้นเลือดตีบ
   โรคสะเก็ดเงิน
   โรคกลากเกลื้อน
   โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
   เนื้องอกในปาก
   คอเลสเตอรอลสูง
   โรคหัวใจ
   กลุ่มอาการเมตาบอลิก
   ปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน
   โรคสมาธิสั้น (ADHA)
   อาการซึมเศร้า
   อาการซึมเศร้าหลังคลอด
   อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS)
   ไข้ละอองฟาง(เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้)
   บางคนใช้เพื่อป้องกันมะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตอบสนองต่อยา tamoxifen เร็วขึ้น

161. Johnson MM, Swan DD, Surette ME, et al. Dietary supplementation with gamma-linolenic acid alters fatty acid content and eicosanoid production in healthy humans. J Nutr. 1997 Aug;127(8):1435-44. 162. Ziboh VA, Naguwa S, Vang K, et al. Suppression of leukotriene B4 generation by ex-vivo neutrophils isolated from asthma patients on dietary supplementation with gammalinolenic acid-containing borage oil: possible implication in asthma. Clin Dev Immunol. 2004 Mar;11(1):13-21. 163. Chang CS, Sun HL, Lii CK, Chen HW, Chen PY, Liu KL. Gamma-linolenic acid inhibits inflammatory responses by regulating NF-kappaB and AP-1 activation in lipopolysaccharide-induced RAW 264.7 macrophages. Inflammation. 2010 Feb;33(1):46-57. 164. Soeken KL. Selected CAM therapies for arthritis-related pain: the evidence from systematic reviews. Clin J Pain. 2004 Jan-Feb;20(1):13-8. 71. Horrobin DF. The effects of gamma-linolenic acid on breast pain and diabetic neuropathy: possible non-eicosanoid mechanisms. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 1993 Jan;48(1):101-4. 72. Ranieri M, Sciuscio M, Cortese AM, et al. The use of alpha-lipoic acid (ALA), gamma linolenic acid (GLA) and rehabilitation in the treatment of back pain: effect on health-related quality of life. Int J Immunopathol Pharmacol. 2009 Jul-Sep;22(3 Suppl):45-50. 73. Hansen TM, Lerche A, Kassis V, et al. Treatment of rheumatoid arthritis with prostaglandin E1 precursors cis-linoleic acid and gamma-linolenic acid. Scand J Rheumatol. 1983;12(2):85-8. 74. Chaggar PS, Shaw SM, Williams SG. Review article: Thiazolidinediones and heart failure. Diab Vasc Dis Res. 2009 Jul;6(3):146-52. 45. Brush MG, Watson SJ, et al. Abnormal essential fatty acid levels in plasma of women with premenstrual syndrome. Am J Obstet Gynecol. 1984 Oct 15;150(4):363–6.
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น