365

WECARE

กลูโคซามีน (Glucosamine)

 

     Glucosamine (กลูโคซามีน) คือสารที่มีอยู่ภายในร่างกายที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างของกระดูกอ่อน กลูโคซามีนที่มีประสิทธิผลสกัดได้จากเปลือกแข็งของสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หรือ ปู ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ กลูโคซามีน ในผู้ที่มีประวัติแพ้จากการรับประทานสัตว์น้ำเหล่านี้


     Glucosamine (กลูโคซามีน) กลูโคซามีนจะถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารโมเลกุลใหญ่เช่น ไกลโคสามิโนกลัยแคน (glycosaminoglycan) และ กรดไฮยาลูโรนิก(hyaluronic acid) ซึ่งทั้งสองตัวนี้เป็นส่วนประกอบในการสร้างกระดูกอ่อน จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า กลูโคซามีน จะไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจึงช่วยยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนได้นั่นเอง กลูโคซามีน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้าซึ่งเป็นเหตุผลที่ผลของการบรรเทาอาการปวดจะเริ่มให้ผลหลังจากบริโภคกลูโคซามีน เป็นประจําเป็นเวลาหลายสัปดาห์และอาจจะนานกว่านั้นในบางกรณี กลูโคซามีน จัดเป็นสารที่มีพิษต่ำจึงนับว่าปลอดภัย ต่อการใช้ระยะยาว

 

ประโยชน์ของกลูโคซามีน enlightened

     

คำแนะนำในการรับประทาน 


     สำหรับโรคข้อเสื่อม กินกลูโคซามีน 1500 mg ต่อวัน วันละครั้ง หรือแบ่งเป็น 500 mg กินวันละ 3 เวลา โดยอาจกินเดี่ยวๆ หรือ กินร่วมกับคอนโดรอิตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate) 400 mg วันละ 2-3 ครั้ง

 

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ⚡


1. อาการแพ้จากการรับประทานสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก

  หากคุณมีอาการแพ้ต่อกลูโคซามีน หรือสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ไม่ควรใช้ กลูโคซามีน


2. การใช้ในช่วงตั้งครรภ์และในระยะให้นมบุตร
  เนื่องจากไม่มีข้อมูลและผลการศึกษาอย่างเพียงพอว่า หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และให้นมบุตร จึงไม่แนะนำให้ใช้ ไบโอ-กลูโคซามีนในระยะดังกล่าว


3. อาการไม่พึงประสงค์จาก กลูโคซามีน(Glucosamine) คือ
  อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้ กลูโคซามีน(Glucosamine) คือ อาการคลื่นไส้ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก และ ท้องเสีย นอกจากนี้ ยังมีรายงานอาการปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย ผื่นแพ้ คันผิวหนังหรือหน้าแดงได้ด้วย ส่วนใหญ่อาการข้างเคียงเหล่านี้จะไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

 

 

กลูโคซามีนซัล (glucosamine) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis)

 

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์

 

✿ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) เป็นสารประกอบที่พบในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ 1500 มิลลิกรัม

 

✿ การศึกษาในหลอดทดลอง จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูกข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆด้วย

 

✿ การศึกษาทางคลินิก สำหรับการศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และการบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทาอาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน15 ฉบับ) ข้อดีของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ในระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี

 

✿ อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือ มึนงง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ บวม อาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว

 

✿ ข้อควรระวัง คือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

 

 

คำเตือนของการใช้กลูโคซามีน ⚡

✿ ควรใช้กลูโคซามีนที่ผ่านการรรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น

✿ ห้ามใช้ยานี้ หากเคยมีประวัติแพ้กลูโคซามีน ไอโอดีน หรือสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู เป็นต้น

✿ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็ง มีคอเรสตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

✿ ผู้ที่กำลังใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กลูโคซามีน

✿ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

✿ ผู้ที่กำลังใช้กลูโคซามีนต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนวางแผนผ่าตัดหรือรับการรักษาทางทันตกรรม

1. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/41/กลูโคซามีน 2. Hochberg MC, Altman RD, April KT, Benkhalti M, Guyatt G, McGowan J, Towheed T, Welch V, Wells G, Tugwell P; American College of Rheumatology. American College of Rheumatology 2012 recommendations for the use of nonpharmacologic and pharmacologic therapies in osteoarthritis of the hand, hip, and knee. Arthritis Care Res (Hoboken). 2012 Apr; 64(4):465-74. 3. Centers for Disease Control and Prevention. A National Public Health Agenda for Osteoarthritis. Georgia: CDC; 2010. 4. Glucosamine Sulfate. In DrugPoints® System. Thomson Reuters (Healthcare) Inc. http://www.thomsonhc.com (accessed December 21, 2012)
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น