เมื่อพูดถึงแผลกดทับนับเป็นแผลที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตโดยตรง เพราะมีการกดทับลงไปจนเนื้อตายและเกิดแผลขึ้นมา แผลลักษณะนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมน้อย รวมทั้งผู้สูงอายุ หากไม่รีบรักษานอกจากรุนแรงจนต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล อาจเกิดการติดเชื้อจากแผลกดทับอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
แผลกดทับ สามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้
❀ ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา
❀ เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
❀ ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร
❀ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
❀ ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่
❀ ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
❀ ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
❀ การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่างๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ที่นอนลม หรือ เตียงลม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความทุกข์จากการเกิดแผลกดทับให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับตัวได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยนอนติดเตียง ที่นอนลมแบ่งเป็นสองประเภท ได้เเก่
นอกจากจะช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับลงได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลก็ยังต้องใส่ใจ และคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่เสมอ
อาหารสำหรับผู้ป่วย
อาหารที่เหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ได้แก่
❀ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เมล็ดถั่ว หรือผลิตภัณฑ์จากเมล็ดถั่ว เช่น เต้าหู้ นมถั่ว
❀ แร่ธาตุสังกะสี ที่พบมากในปลา อาหารทะเล ไข่แดง
❀ ธาตุเหล็ก พบในเนื้อปลา ผักโขม ผักคะน้า
❀ วิตามินซี พบในผักผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง บล็อกโคลี่
❀ วิตามินเอ พบในมันม่วง มะละกอ แตงโม
ถ้าผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะรับประทานอาหารให้มากพอในแต่ละวัน อาจปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรตามร้านยา เลือกอาหารทางการแพทย์มารับประทาน นอกจากนี้ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรืออย่างน้อย 2,500 มิลลิลิตรต่อวัน เพื่อให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง