365

WECARE

เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) 


     เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ หรือผู้ที่ต้องการออกซิเจน เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ประหยัดกว่า และสะดวกมากขึ้นกว่าการใช้ถังออกซิเจน ปัจจุบันเครื่องผลิตออกซิเจนถูกพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพสูง สามารถตอบโจทย์ผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดด้วยออกซิเจนที่บ้านได้เป็นอย่างดี 

 

หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน 


     หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน จะทำงานโดยอาศัยหลักการ pressure swing adsorption หรือ PSA โดยเทคนิคนี้ จะใช้ซีโอไลท์ (zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง โดยไนโตรเจนจะยึดตัวติดกับผิวของซีโอไลท์ เนื่องจากซีโอไลท์มีพื้นผิวขนาดใหญ่และพื้นผิวนั้นเองสามารถดูดซับก๊าซไว้ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อความดันต่ำไนโตรเจนก็จะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ 96%

 

 

เครื่องผลิตออกซิเจนแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

 

1) Continuous Flow Portable Oxygen Concentrators

        เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาที่ค่อนข้างมีน้ำหนักเบาและพกพาง่าย ผลิตออกซิเจนได้ในปริมาณมากและเพียงพอในแต่ละวัน โดยผลิตออกซิเจนได้ประมาณ 3 – 5 ลิตรต่อนาทีเลยทีเดียว สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องผลิตออกซิเจนพกพาไปใช้งานนอกสถานลิตออกซิเจนที่ใช้งานสะดวกมากกว่าแบบ Pulse Dose เนื่องจากสามารถจัดการกับปริมาณออกซิเจนให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ดีกว่า ก็ถือได้ว่า Continuous Flow Portable Oxygen Concentrators สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

2) Pulse Dose Portable Concentrators

        เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนที่ลำเลียงออกซิเจนออกมาเป็นระยะๆ เมื่อผู้ป่วยหายใจเข้า ซึ่งเครื่องผลิตออกซิเจนแบบ Pulse Dose สามารถผลิตออกซิเจนได้ 450 – 1250 มิลลิลิตร/นาที ในระยะสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนไม่มากนักไปจนถึง 2 ลิตร/นาที


        ซึ่งเครื่องผลิตออกซิเจนทั้ง 2 ประเภทนี้ก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าหากผู้อ่านเข้าใจความสามารถในการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนแต่ละประเภทก็จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าเครื่องผลิตออกซิเจนแบบใดที่ตอบโจทย์การใช้งานได้มากที่สุด 

 

เครื่องผลิตออกซิเจนมีกี่ขนาด 

 

การดูแลรักษาเครื่องออกซิเจน 

ควรตั้งเครื่องไว้ในบริเวณที่โล่งหรือที่ให้ลมผ่านสะดวก ควรวางห่างจากกำแพง อย่างน้อย 1 ฟุต ไม่ควรวางเครื่องไว้ชิดกำแพง ห้ามวางเครื่องบนโฟม ฟูก พรม และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องในพื้นที่ที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

 การเปิดปิดเครื่องแต่ละครั้งควรเว้นระยะเวลาให้เครื่องเซ็ตอัพอย่างน้อย 5 นาที

 ก่อนใช้ฟังก์ชั่นพ่นยาต้องปรับระดับอัตราการไหลของออกซิเจนเป็น 0 ลิตรต่อนาที ก่อนทุกครั้ง

 เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับหรือไม่มีไฟฟ้า

 เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีกระแสไฟฟ้าตกเกิน 10% จากกระแสไฟที่จ่าย

 ในกรณีที่ไม่ใช้งานควรดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

 ในกรณีเคลื่อนย้ายเครื่องต้องวางเครื่องในแนวตั้งเท่านั้น และถอดกระป๋องนํ้าให้ความชื้น ออกจากเครื่องทุกครั้ง

 ในกรณีเครื่องมีปัญหาขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย

 ควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกเครื่องโดยใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ เช็ดให้ทั่วและใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช็ดอีกครั้งอย่างสมํ่าเสมอ

 ควรทำความสะอาดไส้กรองข้างเครื่องทุกสัปดาห์ โดยล้างนํ้าและผึ่งลมให้แห้ง

 ควรเปลี่ยนไส้กรองในเครื่องอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน 

 

       เครื่องผลิตออกซิเจน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องใช้อย่างมากในวงการการแพทย์ เนื่องจากจะต้องใช้ผลิตออกซิเจนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ เช่น โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น การใช้เครื่องผลิตออกซิเจนจะช่วยทำให้การรับออกซิเจน และการหายใจของผู้ป่วยนั้นมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น  โดยปกติแล้ว เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) จะใช้เป็นอุปกรณ์เสริมร่วมกับเครื่อง CPAP ในผู้ป่วยที่ประสบปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ร่วมกับโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นต้น ซึ่งการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนนั้นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน ว่าควรใช้แบบใดเพื่อความเหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้งานอย่างถูกวิธี

 

 

คำเตือนและการดูแลรักษาเครื่องออกซิเจน 


1. ควรตั้งเครื่องไว้ในบริเวณที่โล่งหรือที่ให้ลมผ่านสะดวก ควรวางห่างจากกำแพง อย่างน้อย 1 ฟุต ไม่ควรวางเครื่องไว้ชิดกำแพง ห้ามวางเครื่องบนโฟม ฟูก พรม และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องในพื้นที่ที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

2. การเปิดปิดเครื่องแต่ละครั้งควรเว้นระยะเวลาให้เครื่องเซ็ตอัพอย่างน้อย 5 นาที

3. ก่อนใช้ฟังก์ชั่นพ่นยาต้องปรับระดับอัตราการไหลของออกซิเจนเป็น 0 ลิตรต่อนาที ก่อนทุกครั้ง

4. เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับหรือไม่มีไฟฟ้า

5. เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีกระแสไฟฟ้าตกเกิน 10% จากกระแสไฟที่จ่าย

6. ในกรณีที่ไม่ใช้งานควรดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

7. ในกรณีเคลื่อนย้ายเครื่องต้องวางเครื่องในแนวตั้งเท่านั้น และถอดกระป๋องนํ้าให้ความชื้น ออกจากเครื่องทุกครั้ง

8. ในกรณีเครื่องมีปัญหาขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย

9. ควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกเครื่องโดยใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ เช็ดให้ทั่วและใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช็ดอีกครั้งอย่างสมํ่าเสมอ

10. ควรทำความสะอาดไส้กรองข้างเครื่องทุกสัปดาห์ โดยล้างนํ้าและผึ่งลมให้แห้ง

https://sites.google.com/site/nursingbcn/home

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น