365

WECARE

อุปกรณ์พยุงกล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง(Tennis Elbow Strap) 

         ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็งบริเวณมือ ข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก เนื่องจากการกำหรือบีบวัตถุแน่นเกินไป และช่วยป้องกันการหดหรือเกร็งตัวมากเกินไปของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวด หรือบาดเจ็บ ซึ่งผลิตจากวัสดุที่ระบายความชื้น และอากาศได้ดี จึงสวมใส่สบาย สามารถปรับระดับความกระชับได้ตามต้องการ ช่วยรองรับบริเวณที่ปวด และบรรเทาอาการปวดหรือบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้

อุปกรณ์พยุงกล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็งบริเวณมือ ข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก เนื่องจากการกำหรือบีบวัตถุแน่นเกินไป และช่วยป้องกันการหดหรือเกร็งตัวมากเกินไปของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวด หรือบาดเจ็บ คุณสมบัติพิเศษ 1.มีแถบนวมพิเศษ Tendon Pad ช่วยรองรับบริเวณที่ปวด

อาการของ Tennis elbow

 

าเหตุของ Tennis elbow

มักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆมากจนเกินไป(overuse) เช่น นักกีฬาเทนนิส / แบดมินตัน , การกระดกข้อมือเพื่อพิมพ์คีย์บอร์ดต่อเนื่องเป็นเวลานาน , ช่างซ่อมที่ต้องใช้เครื่องมือประเภท คีมห รือไขควง เป็นต้น หรือมีการสะบัด / ตวัดข้อมือขึ้นแรงๆ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณศอก

 

วิธีการรักษา Tennis elbow

1. การรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด (Non-surgical treatment)

- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อศอก แนะนำให้พักการใช้งานแขนข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 - 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้

2. ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug: NSAIDs) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการปวด

3. Platelet Rich Plasma (PRP) คือการสกัดเอาเกล็ดเลือด โปรตีน ฮอร์โมน growth factor และเซลล์จากกระแสเลือด แล้วฉีดกลับเข้าไปยังส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ ซึ่งจะช่วยในการสมานแผลและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่บาดเจ็บ

4. Prolotherapy injection คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

 

ท่าบริหารเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เป็นโรค Tennis elbow

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors stretch)

วิธียืด : หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

2. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensors stretch)

วิธียืด : คว่ำฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือลง เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

4. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensor strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90° กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg คว่ำฝ่ามือลงพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

5. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในการบิดหมุนข้อมือ (Supinator & pronator strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หมุนฝ่ามือหงายสลับกับคว่ำมือ ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

6. ท่าบีบลูกบอล

วิธีทำ : กำลูกบอลค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต

7. ท่ากางนิ้ว 

วิธีทำ : ใช้ยางยืดหรือหนังยางสวมไว้บริเวณนิ้วแล้วกางออก ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต

 

วิธีการดูแลรักษา

  1. ซักมือด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อน ห้ามใข้น้ำยาซักแห้ง น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือน้ำยาฟอกขาว
  2. ซับน้ำออกด้วยผ้าแห้ง ห้ามบิด
  3. ตากในที่ร่ม ลมโกรก ควรเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนและแสงแดดโดยตรง
  4. ห้ามซักแห้ง หรือปั่นให้แห้ง
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น