ในการดูแลผู้ป่วยที่มีแผล ซึ่งการทำแผลไม่ถูกวิธี รวมทั้งการใช้พลาสเตอร์และอุปกรณ์ทำแผลไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นการทำแผลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อลดภาวะความเสี่ยงในการติดเชื้อ พลาสเตอร์ คือ แผ่นปิดแผลที่ทำจากผ้าก๊อซที่มีแถบกาวอยู่ด้านหลัง ช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผลทำให้แผลแห้งและสมานตัวเร็วขึ้น ช่วยกดแผลทำให้อาการปวดลดลง และช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้ เนื่องจากพลาสเตอร์มีหลายประเภทที่แตกต่างกันทั้งรูปร่างและขนาด การเลือกใช้พลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล และการศึกษาขั้นตอนการปิดพลาสเตอร์อย่างถูกต้องจะช่วยดูแลให้แผลหายเร็วขึ้นได้
เมื่อเกิดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผลและปิดพลาสเตอร์อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยลดความรุนแรงของบาดแผล และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
✿ พลาสเตอร์แบบแถบกาวหรือผ้าก๊อซ ควรใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้าหรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย หากแผลมีขนาดเล็กและไม่ได้อยู่ในบริเวณดังกล่าว อาจไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ เนื่องจากแผลจะแห้งเร็วและหายได้เองแม้ไม่ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไว้
✿ พลาสเตอร์ชนิดพิเศษแบบปิดแน่นหรือกึ่งปิดแน่น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้พลาสเตอร์ชนิดนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ เพื่อคงความชุ่มชื้นและลดการเกิดรอยแผลเป็น โดยพลาสเตอร์แต่ละชนิดเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกันไปตามลักษณะ ประเภท และบริเวณที่เกิดแผล ทั้งนี้ ผู้ใช้ควรเลือกพลาสเตอร์ให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากบาดแผลที่เกิดขึ้น ดังนี้
✿ แผลเปิด บาดแผลที่ฉีกขาดเล็กน้อยสามารถใช้พลาสเตอร์แบบผีเสื้อปิดตามแนวขวาง แต่หากเป็นแผลยาว ลึก หรือมีเลือดออกมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาและเย็บปิดบาดแผลอย่างเหมาะสม
✿ แผลบนใบหน้า หากแผลมีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ หรืออาจใช้พลาสเตอร์ปิดแผลแบบแถบกาว แต่หากแผลมีขนาดใหญ่และลึกมาก อาจจำเป็นต้องเย็บแผลเพื่อห้ามเลือด ลดการติดเชื้อ และช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น
✿ แผลจากของมีคมบาดมือหรือเท้า แผลชนิดนี้มีโอกาสสัมผัสสิ่งสกปรกมากกว่าแผลบริเวณอื่น ๆ และอาจเสียดสีกับถุงเท้าหรือรองเท้าจนเกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้น ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์และเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกครั้งที่เริ่มเปียกหรือสกปรก แต่หากแผลลึกมาก ควรไปพบแพทย์ เพราะแผลอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
✿ แผลบนข้อนิ้ว นิ้วมือ และส้นเท้า การปิดแผลบริเวณเหล่านี้อาจทำให้พลาสเตอร์หลุดออกได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะส่วนที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ควรปิดแผลไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ โดยควรใช้พลาสเตอร์รูปทรงนาฬิกาทราย หรือตัวเอช (H) ซึ่งเหมาะกับการปิดแผลตามข้อต่อของร่างกายและแผลบริเวณปลายนิ้วมือ และช่วยป้องกันการเกิดรอยย่นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พลาสเตอร์หลุดออกได้ง่าย
✿ เข่าหรือข้อศอกถลอก อาจปิดรอยแผลถลอกบริเวณหัวเข่าหรือข้อศอกด้วยพลาสเตอร์ขนาดใหญ่ หรือพลาสเตอร์ปิดแผลแบบแถบกาวที่มี 4 แฉก เนื่องจากพลาสเตอร์ชนิดนี้ติดแน่นและป้องกันการหลุดออกได้ดี นอกจากนี้ อาจใช้พลาสเตอร์แบบเหลว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยหยุดเลือด ปกป้องแผลจากน้ำและสิ่งสกปรกเพื่อลดการติดเชื้อ
✿ แผลถลอกขนาดใหญ่ การทายาฆ่าเชื้อหรือใช้พลาสเตอร์ที่สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นจะช่วยให้แผลลักษณะนี้หายเร็วขึ้น หากแผลไม่ตกสะเก็ดและยังเป็นแผลสดอยู่ ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดพลาสเตอร์อย่างสม่ำเสมอ และสังเกตว่าแผลมีการติดเชื้อหรือไม่
✿ แผลพุพอง แผลที่มีตุ่มน้ำอาจไม่จำเป็นต้องรักษาหรือปิดพลาสเตอร์ เนื่องจากแผลชนิดนี้สามารถหายเองได้ หากมีแผลพุพองบริเวณที่เกิดการเสียดสีได้ง่าย เช่น ฝ่าเท้า อาจใช้ผ้าก๊อซเนื้อนุ่มปิดแผลเพื่อป้องกันการกดทับ หากตุ่มน้ำแตกและของเหลวไหลออกจากแผลแล้ว จึงค่อยใช้พลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
✿ แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก หากอาการไม่รุนแรงมากสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง โดยควรล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำเย็นแล้วใช้ยาฆ่าเชื้อทาบาง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ห้ามใช้น้ำมันหรือแป้งทาลงบนแผลเด็ดขาด จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซแล้วใช้เทปกาวปิดทับเพื่อยึดไม่ให้ผ้าก๊อซที่ปิดไว้หลุด แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดนี้เพราะมีเนื้อกาวเหนียวที่อาจสัมผัสกับบาดแผล
● อุปกรณ์ทำแผล
จากการติดตามผู้ป่วยบางรายที่มาพบแพทย์ตามนัด พบว่ายังมีผู้ป่วยเกิดการอักเสบติดเชื้อที่แผล ภายหลังการผ่าตัด และหลังทำหัตถการ ซึ่งสาเหตุการติดเชื้อที่พบเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดประสบการณ์ในการดูแลแผลที่เท้าของผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมทั้งการล้างแผลไม่ถูกวิธี ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เพิ่มระยะเวลาการรักษา เกิดความวิตกกังวล บางรายอาจสูญเสียอวัยวะได้หากมีอาการติดเชื้อที่รุนแรงมาก เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อ และสูญเสียอวัยวะในภายหลัง การล้างแผลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ
● ชนิดของการล้างแผล
การล้างแผลแบบแห้ง ใช้สำหรับล้างแผลสะอาด แผลปิด แผลที่ไม่มีการอักเสบ เป็นแผลเล็กๆ การล้างแผลแบบเปียก ใช้สำหรับล้างแผลที่มีลักษณะเป็นแผลเปิด แผลอักเสบติดเชื้อ การปิดแผลขั้นแรกจะใช้วัสดุที่มีความชื้น เช่น ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือ (0.9% normal saline) ปิดไว้ แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซแห้งอีกครั้ง
● วัตถุประสงค์ของการล้างแผล
เพื่อให้แผลมีสภาวะที่ดี เหมาะแก่การงอกของเนื้อเยื่อดูดซึมสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง หนอง
จำกัดการเคลื่อนไหว ของแผลให้อยู่นิ่งให้ความชุ่มชื้น กับพื้นผิวของแผลอยู่เสมอป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลติด และดึงรั้งเนื้อเยื่อที่งอกใหม่ป้องกันแผล หรือเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่จากสิ่งกระทบกระเทือนป้องกันแผลปนเปื้อนเชื้อโรค จากอุจจาระ ปัสสาวะ หรือสิ่งสกปรกอื่นๆเป็นการห้ามเลือด
● อุปกรณ์ที่ใช้ล้างแผล
ชุดทำแผลที่ผ่านขั้นตอนการทำให้ปราศจากเชื้อ ประกอบด้วยปากคีบชนิดไม่มีเขี้ยว ปากคีบมีเขี้ยว ถ้วยใส่น้ำยา สำลี ผ้าก๊อซ น้ำยาฆ่าเชื้อ เบตาดีน หรือโปรวิดีน ไอโอดีน หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์ น้ำเกลือล้างแผล (โซเดียมคลอไรด์) แอลกอฮอล์ 70% ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบๆ พลาสเตอร์ และผ้าพันแผล แต่แผลบางชนิดอาจไม่ต้องใช้
ขั้นตอนการล้างแผลแบบแห้ง
ขั้นตอนการล้างแผลแบบเปียก
✿ เปิดแผล โดยใช้มือหยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้งลงในภาชนะรองรับ เปิดผ้าปิดแผลชั้นที่ติดกับแผลด้วยปากคีบมีเขี้ยว หากผ้าปิดแผล หรือผ้าก๊อชแห้งติดแผลให้ใช้สำลีชุบน้ำเกลือหยดบนผ้าปิดแผลหรือผ้าก๊อซก่อน เพื่อให้เลือด หรือน้ำเหลืองอ่อนตัว จะช่วยให้ผ้าปิดแผลหลุดง่าย และไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมาใหม่ทำความสะอาดริมขอบแผล เช่นเดียวกับการล้างแผลแบบแห้ง ใช้สำลีชุบน้ำเกลือ หรือน้ำยาเช็ดภายในแผลจนสะอาด ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำยาใส่ในแผล เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดูดซับสิ่งคัดหลั่ง และให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ ปิดแผลด้วยผ้า หรือผ้าก๊อซหุ้มสำลีตามขนาดของแผล และปิดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัวสำหรับแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวาน แพทย์จะต้องประเมินตามสภาพของแผล เช่น หากเป็นแผลผ่าตัดจัดเป็นแผลสะอาด ส่วนแผลที่มีหนอง อักเสบ บวม แดง หรือมีเนื้อตาย ถ้าได้รับการดูแลเอาหนอง หรือตัดเนื้อตายออก และล้างแผลให้สะอาดจากแพทย์โดยไม่มีการติดเชื้อแล้ว จัดว่าเป็นแผลสะอาด
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลแผล
✿ ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ หรือเปียกชุ่ม หากแผลชุ่มมากควรเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่ทันที
✿ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำ โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามินซี เอ และ อี เป็นต้น เพื่อสร้างเนื้อเยื่อ และเสริมความแข็งแรงให้กับแผลหากเกิดอาการคัน หรือแพ้พลาสเตอร์ ควรเปลี่ยนชนิดใหม่ ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ผิวหนังรอบแผลช้ำถลอก เกิดการอักเสบ ติดเชื้อลุกลามขยายเป็นแผลกว้างได้ หากสังเกตว่าแผลมีอาการบวม แดง เริ่มรู้สึกปวดมากขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง