365

WECARE

แอลกอฮอล์และน้ำยาฆ่าเชื้อ (Alcohol & Disinfecting solution) 

 

แอลกอฮอล์และน้ำยาฆ่าเชื้อ (Alcohol & Disinfecting solution) 


     เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้  ใช้สำหรับล้างแผล ทำความสะอาดมือ เช็ดทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ แอลกอฮอล์สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมทั้งเชื้อวัณโรค เชื้อรา และไวรัสบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่มีโครงสร้างไขมันหุ้มอยู่ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ละลายไขมัน ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนสภาพ (protein denaturant) แต่ไม่มีผลต่อสปอร์


     สารกลุ่มนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็น disinfectant และ antiseptic ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน แต่สามารถติดไฟ ได้ดี ระเหยได้ง่ายทำให้ติดบนพื้นผิวและออกฤทธิ์เป็นระยะเวลานานไม่ได้ เมื่อละลายกับน้ำจะสามารถแพร่ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดีขึ้น จึงทำให้โปรตีนเสียสภาพและยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกและเข้าไปรบกวนระบบ metabolism ได้ด้วย แต่ถ้าเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์จะทำให้โปรตีนด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพได้ อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อยลงการออกฤทธิ์ก็จะลดลง ความเข้มข้นปกติที่นิยมใช้กัน จะอยู่ในช่วง 60−90% (ถ้าความเข้มข้นมากกว่านี้จะไม่สามารถเข้าเซลล์ได้) เช่น แอลกอฮอล์ผสมความเข้มข้นสูงของ 80% ethanol ร่วมกับ 5% isopropanol จะสามารถยับยั้งไวรัสที่มีเยื่อหุ้มเป็นลิปิดได้ด้วย (HIV ไวรัสตับอักเสบ B และ C) ส่วนการ disinfect บนพื้นผิวเปียกจะต้องใช้ความเข้มข้นมากขึ้น นอกจากนั้นประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อผสม wetting agent เช่น dodecanoate (coconut soap) เช่น ของผสม 29.4% ethanol กับ dodecanoate จะออกฤทธิ์ได้ดี กับทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส

 


 

ชนิดของแอลกอฮอล์และน้ำยาฆ่าเชื้อ 


     แอลกอฮอล์ขนาดเล็กอย่าง ethanol และ isopropanol ใช้เป็น disinfectant อย่างแพร่หลาย แต่ methanol ไม่ใช้เป็น disinfectant เพราะมีพิษอย่างยิ่งต่อคน ถ้าได้รับเกิน 10 mL ไป เมื่อย่อยเป็น formic แล้วจะมีผลทำลายประสาทตาจนตาบอดถาวรได้ และถ้าได้รับเกิน 30 mL อาจถึงตายได้ โดยทั่วไป ethanol ออกฤทธิ์ต่อไวรัสได้ดีกว่า isopropanol และนิยมใช้กันอย่าง กว้างขวางมากกว่า สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคและไวรัสพวก herpes, influenza, rabies ได้ แต่พวกไวรัสตับอักเสบและ AIDS ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด โดยปกติจะไม่ใช้แช่เครื่องมือ เพราะจะทำให้เป็นสนิม แต่หากเติม NaNO2 (sodium nitrite) 0.2% จะช่วยป้องกัน การเกิดสนิมได้


     แอลกอฮอล์มี2ชนิด เอทิลแอลกอฮอล์ และ เมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่อย่างไรก็ตามด้วยความคล้ายกันนั้น ความระคายเคือง ระดับความอันตราย และการใช้งาน มีความแตกต่างกัน


 เมทิลแลอกอฮอล์ มีความระคายเคืองมากกว่าเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมทิลแอลกอฮอล์จะทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ แต่ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ จะไม่เกิดความระคายเคือง แต่จะทำให้ผิวแห้ง


✿ เอทิลแอกอฮอล์ เมทิลแอลกอฮอล์ จะอันตรายมากกว่า เอทิลแอกอฮอล์ เพราะถ้าหากสูดดมเมทิลแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจทำให้ตาบอดได้ และหากดื่มเข้าไป เมทิลแอลกอฮอล์จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีในร่างกายเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) มีผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด อาจทำให้ตาบอด กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ หากดื่นเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะทำให้เกิดอาการเมา ถึงแม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน


      เมทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวทำละลาย อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ใช้ผสมในทินเนอร์ ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อบนผิวหนัง และการทำความสะอาดอุปกณ์ทางการแพทย์ โดยปริมาณที่เหมาะสมคือระดับความเข้มข้น 70%

      นำน้ำส้มสายชู 3ml ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด

      ใช้เอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 3ml ผสมกับน้ำส้มสายชูที่ละลายกับด่างทับทิมไว้แล้ว 1ml

      หากเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ที่อันตรายต่อร่างกาย สีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 นาทีแรก

      หากเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นสีภายใน 1 นาที

 


คำสำคัญสองคำ คือ Antiseptics และ Disinfectants 

 

✿ Disinfectant (สารฆ่าเชื้อ) หมายถึง สารที่ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เจาะจง แต่มีความรุนแรงทำให้ไม่สามารถใช้กับพื้นผิวสิ่งมีชีวิตได้เช่นผิวหนัง จึงเหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ ที่ไม่มีชีวิตเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ


✿ Antiseptic (สารระงับเชื้อ) หมายถึง สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ และใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนผิวหรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสารบางชนิดอาจเป็นได้ทั้ง disinfectant และ antiseptic เมื่อความเข้มข้นเปลี่ยน เช่น chlorhexidine ที่ความเข้มข้น 0.02% ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก จัดเป็น antiseptic แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 0.5% จะเป็น disinfectant ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวได้


     สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงสารฆ่าเชื้อ หรือ Disinfectant เป็นหลักเนื่องจากเป็นสารประกอบสำคัญที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน นอกจากนั้นยังนิยมใช้ในสถานพยาบาลด้วย การเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดใดนั้นควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

  1. คุณสมบัติทางเคมี
  2. ความปลอดภัย ไม่ระคายเคืองและไม่เป็นพิษต่อผู้ใช้
  3. ประสิทธิภาพและระยะเวลาที่ใช้
  4. ไม่มีผลกับอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  5. อื่นๆ เช่น ราคา ความคงตัว การเก็บรักษา

 


ประเภทของสารฆ่าเชื้อ 


สารฆ่าเชื้อสามารถแบ่งตามประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็น 3 ระดับ คือ

 

 

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น