365

WECARE

Lutein,Zeaxanthin (ลูทีนและซีแซนทีน)

 

     Lutein และ Zeaxanthin เป็นสารตานอนุมูลอิสระสีเหลอง ถูกจัดอยู่ในสารกลุ่ม Carotenoid (แคโรทีนอยด์) Lutein และ Zeaxanthin พบไดในผัก ผลไม้หลายชนิด เช่น กะหล่ำ ผักโขม ผักกาด บร็อคโคลี่ ข้าวโพด แครอท เราควรได้รับสาร Lutein และ Zeaxanthin ควบคู่กัน เพราะสารสองชนิดนี้มีบทบาทต่อการสะสมเม็ดสีในดวงตา ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าได้ ปัจจุบนมีการศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่ รองรับผลของการได้รับ Lutein และ Zeaxanthin ในการป้องกันและชะลอความเสื่อม ของดวงตา โดยลดการสะสมของสารอนุมูลอสระในดวงตา รวมทั้งชะลอความรุนแรง ของอาการจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงต้อกระจกได้อีกด้วย

 

 

ลูทีน(Lutein) สารอาหารเพื่อดวงตาที่สดใส enlightened
 



แหล่งที่พบลูทีน


     ในธรรมชาติพบมากในดอกดาวเรือง และโกจิเบอรรี่ (เก๋ากี๋) แล้วยังพบใน กะหล่ำปลี ผักโขม ถั่วลันเตา ต้นอ่อนกะหล่ำดาว ถั่วพิสตาชิโอ บรอกโคลี ข้าวโพด ไข่แดง แครอท คะน้า ผักบุ้ง ป๋วยเล้ง ผักกาดหอม แตงกวาทั้งเปลือก ซุนกินี่ทั้งเปลือก ถั่วแขก อะโวคาโด มัสตาร์ด ฟักทอง 


 

แหล่งกำเนิดลูทีน 

 

     ลูทีน(Lutein) นั้นเป็นสารที่มีอยู่ในระบบร่างกายของมนุษย์อยู่แล้ว กล่าวคือ ภายในจอประสาทตาของคนเรา มีร่องเล็กๆ อยู่จุดหนึ่งที่มีเซลล์รับภาพจอประสาทตา ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกกระทบ และทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน ซึ่งบริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลือง หรือลูทีนอยู่หนาแน่นมากที่สุด โดยจะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท หรือเรตินาตรงบริเวณ Macula Luta ซึ่งจุดดังกล่าวเป็นจุดที่สำคัญมากต่อการมองเห็น หากบริเวณดังกล่าวเสื่อม หรือเสียไป อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้

 

ประโยชน์ของลูทีน

ʕ·ᴥ·ʔ  ทำหน้าที่ช่วยให้มองภาพได้คมชัด และเห็นรายละเอียดของภาพดีขึ้น

ʕ·ᴥ·ʔ  ลดความเสี่ยง การเป็นโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้ (Cataracts)

ʕ·ᴥ·ʔ  ช่วยลดความเสี่ยง ในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (Age – Related Muscular Degeneration หรือ AMD)

ʕ·ᴥ·ʔ  ช่วยลดโรคมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยง

ʕ·ᴥ·ʔ  ลดกลไกการเกิด Plague ในผนักเส้นเลือด ทำให้ลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรค

ʕ·ᴥ·ʔ  ให้ดวงตาแข็งแรง ป้องกันประสาทตาเสื่อม

ʕ·ᴥ·ʔ  ช่วยปกป้องมิให้แสงอาทิตย์ทำลายเรตินา

ʕ·ᴥ·ʔ  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ʕ·ᴥ·ʔ  ช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนของเลือด และเส้นเลือดฝอยที่เลี้ยงตา

ʕ·ᴥ·ʔ  ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

ʕ·ᴥ·ʔ  ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น

ʕ·ᴥ·ʔ  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ʕ·ᴥ·ʔ  ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ⚡

 

     ด้วยที่ว่าลูทีน (Lutein) เป็นสารที่มีในร่างกายมนุษย์ แล้วแหล่งที่มีลูทีนก็เป็นพืชผักและไข่ที่เราใช้ประกอบอาหารอยู่เป็นประจำ จึงคาดว่าไม่น่าจะมีอันตรายหากรับประทานลูทีนในแหล่งอาหารจากธรรมชาติเหล่านี้ แต่หากเป็นสารสกัดหรืออาหารเสริมที่มีลูทีนสกัดเข้มข้นแล้ว ควรรับประทานไม่เกินวันละ 20 มิลลิกรัม เพราะหากรับประทานมากเกิน จะเกิดการสะสมที่ตับและทำให้เกิดอาการตัวเหลืองที่เรียกว่า Carotenemia แต่หากหยุดรับประทานสักพักอาการก็จะหายไปเองและกลับมาเป็นปกติ

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพของซีแซนทิน enlightened

 

ซีแซนทิน เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็น functional food ซึ่งมีสรรพคุณสำคัญคือ


✿ zeaxanthin เป็นองค์ประกอบสำคัญในจอตา (retina) โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า macular ซึ่งเป็นชั้นของเม็ดสีทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้มีสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด อาทิเช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสารที่เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆ ผู้ที่โดนแฟลซ ดูโทรทัศน์มากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจรวมทั้งมะเร็งเต้านม


✿ ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาโดยการลดอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องจอตาจากการถูกทำลายโดยแสงสีฟ้า และแสงใกล้อุลตร้าไวโอเลต (ophthalmoprotective) เช่น แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากดวงอาทิตย์


✿ ป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (age-related macular degeneration; AMD) ซึ่งเป็นภาวะความเสื่อมที่เกิดขึ้นบริเวณ macula ของจอตา ถ้าชั้นเม็ดสีบริเวณนี้ถูกทำลายมากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนที่ใช้รับภาพได้ (photoreceptors) อาจส่งผลให้การรับภาพและการมองเห็นสูญเสียไป


✿ มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ทั่วร่างกาย

 

 

ไม่ใช่ ลูทีนบำรุงสายตา ได้อย่างเดียวเท่านั้น ⚡ 


     การศึกษาโดยใช้เวลา 6 ปี ของสถาบันดวงตาแห่งชาติพบว่า ลูทีนและซีแซนทีน ช่วยป้องกันการตาบอดจากความเสื่อม การศึกษาของโครงการสารอาหารและการมองเห็น ซึ่งใช้เวลาถึง 15 ปี พบว่า การรับประทานลูทีนและซีแซนทีน ขนาด 2.4 มิลลิกรัมขึ้นไป จากอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะช่วยลดต้อสีเหลืองที่เลนส์ตา นอกจาก ลูทีนและซีแซนทีน จะมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอความเสื่อมของเรตินา และเลนส์ตาแล้ว ยังทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก และป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย


✿ 2.4 มิลลิกรัม ต่อวัน มีแนวโน้วลดต้อเสีเหลืองในเลนต์ตา

✿ 6 มิลลิกรัม ต่อวัน มีแนวโน้มป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมได้ถึง 43 เปอร์เซนต์

✿ 10 มิลลิกรัม ต่อวัน จะช่วย รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมในระยะแรก

✿ 20 มิลลิกรัม ต่อวัน จะช่วย คนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม มองชัดขึ้น


 

คำแนะนำในการรับประทาน

วันละ 20-40 มิลลิกรัมเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของดวงตา
✿ วันละ 20-40 มิลลิกรัมเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและชะลอความเสื่อมของดวงตา

1. Bone RA, Landrum JT, Guerra LH, Ruiz CA. Lutein and zeaxanthin dietary supplements raise macular pigment density and serum concentrations of these carotenoids in humans. J Nutr. 2003;133(4):992-8. 2. Bone RA, Landrum JT, Cao Y, Howard AN, Alvarez-Calderon F. Macular pigment response to a supplement containing meso-zeaxanthin, lutein and zeaxanthin. Nutrition & Metabolism. 2007;4:12. 3. Krishnadev N, Meleth AD, Chew EY. Nutritional supplements for age-related macular degeneration. Current opinion in ophthalmology. 2010;21(3):184-189. 4. Richer S, Stiles W, Statkute L, Pulido J, Frankowski J, Rudy D, Pei K, Tsipursky M, Nyland J. Double-masked, placebo-controlled, randomized trial of lutein and antioxidant supplementation in the intervention of atrophic age-related macular degeneration: the Veterans LAST study (Lutein Antioxidant Supplementation Trial). Optometry. 2004 Apr;75(4):216-30. 5. Schalch W, Cohn W, Barker FM, et al. Xanthophyll accumulation in the human retina during supplementation with lutein or zeaxanthin the LUXEA (LUtein Xanthophyll Eye Accumulation) Study. Arch Biochem Biophys. 2007;458(2):128-35. 6. Scripsema NK, Hu D-N, Rosen RB. Lutein, Zeaxanthin, and meso- Zeaxanthin in the Clinical Management of Eye Disease. Journal of Ophthalmology. 2015;2015:865179. 7. Trieschmann M, Beatty S, Nolan JM, et al. Changes in macular pigment optical density and serum concentrations of its constituent carotenoids following supplemental lutein and zeaxanthin: The LUNA study. Exp Eye Res. 2007;84:718-28. 8. Xiao-Hong Liu, Rong-Bin Yu, Rong Liu, Zhen-Xuan Hao, Cheng-Cheng Han, Zhong-Hai Zhu and Le Ma. Association between Lutein and Zeaxanthin Status and the Risk of Cataract: A Meta-Analysis. Nutrients (2014), 6, 452-465; doi:10.3390/nu6010452
365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น