วิตามินบี1 หรือ ไทแอมีน (thiamine) เป็นวิตามิน ที่ละลายน้ำชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท ถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี1ไม่เพียงพอ จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา โรคนี้เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่มอายุ สำหรับเด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศ ที่ประชาชนรับประทานข้าวที่ขัดสีเป็นข้าวขาว เป็นอาหารหลัก โดยไม่รับอาหารอื่นที่มีวิตามินบี1เสริมอย่างเพียงพอ
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี1ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่บริโภค ร่างกายจะสะสมไทแอมินไว้ได้เพียงเล็กน้อย โดยกระจายอยู่ตามเนื้อเยื้อต่างๆ ได้แก่ ตับ ไต หัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีความเข้มข้นสูงกว่าในเลือดเล็กน้อย ไทแอมินจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร วิตามินบี1จะพบในอหารหลายประเภท เช่น ยิสต์ ธัญพืช ถั่ว และเนื้อสัตว์ และมักจะผสมในวิตามินบีรวม Thiamine หน้าที่มีส่วนในการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ หัวใจและการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต์ จะทำงานเป็น coenzyme ช่วยในการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง หากขาดวิตามินนี้จะมีอาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการทางสมอง และทางเดินอาหาร แหล่งอาหาร พบมากในธัญพืชเช่นข้าว ถั่วชนิดต่างๆเครื่องในสัตว์ ไข่ หมู
✿ เกิดจากการรับประทานวิตามินไม่เพียงพอ โดยเฉพาะรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีจะทำให้วิตามินหลุดออกไป ภาวะร่างกายมีการเพิ่มเผาผลาญพลังงาน จะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ความต้องการวิตามินบี1 จึงสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้แก่ เช่น คนท้อง คนที่คอพอกเป็นพิษ ผู้ที่ให้นมบุตร คนที่มีไข้สูง โรคติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัด ภาวะเครียด นอกจากนี้
ยังอาจพบในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมาก
✿ การรับประทานวิตามินบี1 ในปริมาณซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากความอดอยาก และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) เป็นต้น
✿ เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ และหญิงกำลังให้นมบุตร การทำงานหนักภาวะ malabsorptionโรคท้องร่วงเรื้อรังทำให้ลำไส้ดูดซึมวิตามินบี1ลดลงขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดสารอาหารกรดโฟลิก
✿ พิษสุราเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้การบริโภคอาหารรวมทั้งวิตามินบี1ลดลง และความสามารถของตับที่จะเปลี่ยนวิตามินบี1 เป็น TPP จะลดลงในรายที่เป็นโรคตับแข็งนอกจากนี้ร่างกายจะสูญเสียวิตามินบี1 จากการใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง และการทำ hemodialysis
อาการทั่วๆจะมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ท้องผูก ผู้ป่วยจะมีอาการชาโดยเฉพาะทปลายเท้าทั้งสองข้างเรียก beriberi บางรายอาจจะมีอาการปวด หรือเป็นตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน
✿ วิตามินบี1 ในรูปของอาหารเสริม มีปริมาณตั้งแต่ 25 - 500 มิลลิกรัม จะมีประสิทธิภาพดีมากหากอยู่ในรูปของวิตามินบีรวม เช่น วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 100-300 มิลลิกรัม
✿ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันหรือที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 1-1.5 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 1.5-1.6 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
✿ หากคุณเป็นคนที่ชอบรับประทานอาหารหวานจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี1 เพิ่มมากขึ้น
✿ หากตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุม คุณต้องได้รับวิตามินบี1 มากกว่าปกติ
✿ หากคุณรับประทานยาลดกรดในกระเพาะหลังอาหารเป็นประจำ คุณอาจไม่ได้รับวิตามินบี1 ที่ควรจะได้จากอาหารมื้อนั้น ๆ
✿ ในภาวะเครียด เจ็บป่วย มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด คุณควรรับประทานวิตามินบีรวมเสริมด้วย
✿ เมื่อเจ็บป่วย มีอาการเครียด ผ่าตัด ร่างกายจะต้องการวิตามินบี1 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ
กลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดไธอามีน มีชื่อเรียกง่ายๆ ว่า beriberi (เบอริ-เบอรี่) อาการและอาการแสดงในผู้ที่ขาดไธอามีนมักเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและหัวใจ7 ซึ่งมีอาการดังนี้
✿ อาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทผิดปกติ (dry beriberi) มักมีอาการชาตามมือและเท้า (numbness) อาจมีการรับความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตลอดเวลาทั้งที่ความจริงไม่มี (paresthesia) นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีการรับรู้สติที่เปลี่ยนแปลงไป (alteration of consciousness)
✿ อาการที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ (wet beriberi) มักพบอาการคั่งน้ำ เกิดการบวมของแขนขาและอวัยวะต่างๆ อาจพบความดันโลหิตต่ำ น้ำท่วมปอด และบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลวหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
✿ ในบางรายอาจพบความผิดปกติร่วมกันทั้งระบบประสาทและหัวใจเลยก็ได้
ผู้ป่วยที่เป็น beriberi ควรได้รับการรักษาด้วยการให้ไธอามีนเสริม ซึ่งมักเป็นชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อความแน่นอนของขนาดยาที่ร่างกายจะได้รับและมีความรวดเร็วทันท่วงที8 หากสาเหตุของความผิดปกติมาจากการขาดไธอามีนจริง ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนภายในระยะเวลาไม่นาน หลังจากผ่านช่วงวิกฤติไปแล้ว ผู้ป่วยจะต้องรับประทานไธอามีนชนิดเม็ดเสริมเป็นระยะเวลา 1 เดือน และควรทำการหาสาเหตุของการขาดไธอามีนในผู้ป่วยรายนั้นให้พบแล้วทำการแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาป่วยด้วย beriberi อีกในอนาคต
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง