โฟลิก-แอซิด Folic Acid เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ตั้งครรภ์ Folic acid (กรดโฟลิค) อาจช่วยป้องกันการแท้งบุตร ความพิการแต่กำเนิดเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลังของทารก และอาจช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของ DNA ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ และในบางครั้ง Folic acid ก็ถูกใช้รักษาโรคโลหิตจางชนิดที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิค ร่วมกับยารักษาตัวอื่น ๆ ด้วย
Folic Acid (กรดโฟลิค) พบได้มากในอาหารจำพวกถั่ว ตับ ส้ม ขนมปังธัญพืช พืชผักใบเขียว แต่หากกำลังตั้งครรภ์ หรือบริโภค Folic acid (กรดโฟลิค) ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถบริโภคในรูปของอาหารเสริมแบบรับประทานได้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
❁ กลุ่มยา อาหารเสริม
❁ ประเภทยา ยาตามคำสั่งแพทย์ อาหารเสริม
❁ สรรพคุณ เสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยจากการขาดกรดโฟลิค
❁ กลุ่มผู้ป่วย เด็กและผู้ใหญ่
❁ รูปแบบของยา ยารับประทาน ยาฉีด
❁ ผู้ที่มีประวัติแพ้ Folic acid ไม่ควรใช้อาหารเสริมชนิดนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากกำลังป่วยด้วยปัญหาสุขภาพ เพื่อปรับยาให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เกิดอันตราย เช่น เป็นโรคเกี่ยวกับไตหรือกำลังฟอกไต โรคโลหิตจาง ภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ เป็นผู้เสพติดสุรา เป็นต้น
❁ แม้ Folic acid ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่หากกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ เพราะอาจต้องพิจารณาปรับยาให้รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่น อาจเพิ่มปริมาณ Folic acid ในผู้ที่ตั้งครรภ์
❁ แม้แพทย์จะจ่าย Folic acid รักษาโรคโลหิตจาง แต่ Folic acid ไม่สามารถรักษาทดแทนภาวะขาดวิตามินบี 12 ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างถูกต้อง ไม่หยุดใช้ยาตัวใดโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
❁ ห้ามรับประทานยาเกินขนาด ใช้ยาตามปริมาณที่แพทย์กำหนด หรือตามปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเท่านั้น
ผู้ใหญ่
❁ เพศชาย 150-200 ไมโครกรัม/วัน
❁ เพศหญิง 150-180 ไมโครกรัม/วัน
❁ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนตั้งครรภ์ 400 ไมโครกรัม/วันกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดแห่งประเทศไทยแนะนำการรับประทานโฟลิคในหญิงวัยเจริญพันธุ์ว่าควรเริ่มรับประทานก่อนวางแผนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนและรับประทานอย่างต่อเนื่องในช่วงตั้งครรภ์ เพราะอาจช่วยป้องกันความพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคสมองและไขสันหลังได้
เด็ก
❁ ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด 50 ไมโครกรัม/วัน
❁ ทารกแรกเกิดอายุ 1-6 เดือน 25-35 ไมโครกรัม/วัน
❁ เด็กอายุ 1-3 ปี 150 ไมโครกรัม/วัน
❁ เด็กอายุ 4-8 ปี 200 ไมโครกรัม/วัน
❁ เด็กอายุ 9-13 ปี 300 ไมโครกรัม/วัน
❁ เด็กอายุ 14 ปี ขึ้นไป 400 ไมโครกรัม/วัน
❁ การรักษาภาวะขาด Folic Acid
ผู้ใหญ่
❁ รับประทานหรือฉีด Folic acid เข้าเส้นเลือด 400-800 ไมโครกรัม/วัน
❁ ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร รับประทานหรือฉีด Folic Acid เข้าเส้นเลือด เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ชั้นผิวหนัง 800 ไมโครกรัม/วัน
เด็ก
❁ ทารก รับประทาน หรือฉีด Folic Acid เข้าเส้นเลือด เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ชั้นผิวหนัง 0.1 มิลลิกรัม/วัน
❁ เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี รับประทาน หรือฉีด Folic Acid เข้าเส้นเลือด เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ชั้นผิวหนัง 0.3 มิลลิกรัม/วัน
❁ เด็กอายุตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป รับประทาน หรือฉีด Folic Acid เข้าเส้นเลือด เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ชั้นผิวหนัง 0.4 มิลลิกรัม/วัน
❁ ส่วนปริมาณการใช้ยาในกรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคและภาวะอื่น ๆ แพทย์จะพิจารณารักษาตามความเหมาะสมต่อไป
ผลข้างเคียงจากการใช้ Folic Acid (โฟลิก-แอซิด)
การใช้ยา Folic Acid อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น
❁ เวียนศีรษะ
❁ ไม่อยากอาหาร
❁ เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
❁ รู้สึกขมปาก
❁ มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
❁ มีภาวะซึมเศร้า
❁ รู้สึกตื่นเต้น กระสับกระส่าย แปรปรวน อยู่ไม่สุข
อย่างไรก็ตาม หากอาการป่วยเหล่านี้ไม่หายไป ไม่ดีขึ้น หรือทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาส่วนผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้ เช่น มีผดผื่นคัน หายใจลำบาก ลิ้น ปาก ลำคอ หรือใบหน้าบวม ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเร่งด่วนเช่นกัน
❁ สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ Folic Acid เพื่อการรักษา ควรใช้ยาให้ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่รับประทานยาเกินกว่าปริมาณหรือยาวนานเกินกว่าที่แพทย์กำหนด ส่วนผู้ที่รับประทาน Folic Acid เป็นอาหารเสริม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายตามฉลากที่ระบุข้างผลิตภัณฑ์และคำแนะนำของเภสัชกร ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาเสมอ
❁ การใช้ Folic Acid แบบบรับประทาน ให้รับประทานพร้อมน้ำเปล่า 1 แก้ว และเก็บบรรจุภัณฑ์ไว้ในอุณหภูมิห้องบริเวณที่พ้นจากความชื้นและความร้อน
❁ หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากใกล้รอบเวลาถัดไปที่ต้องใช้ยา ให้ข้ามไปรับประทานยารอบถัดไปในปริมาณปกติ ไม่ควรรับประทานยาเกินขนาด
❁ หากรับประทานยาเกินขนาด ควรไปพบแพทย์หรือขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เมื่อพบสัญญาณของอาการที่เกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด ดังต่อไปนี้
นอกจากการเสริม Folic Acid ให้ร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี รักษาภาวะขาด Folic Acid และโรคโลหิตจางแล้ว Folic Acid อาจถูกนำไปใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น อัลไซเมอร์ กระดูกพรุน ภาวะซึมเศร้า ปวดประสาท ปวดกล้ามเนื้อ จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
❁ เป็นกรดที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก RNA-DNA ซึ่งเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการสืบพันธุ์ของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก โดยหากขาดสารชนิดนี้ไปก็จะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง หยุดชะงัก หรือเกิดความผิดปกติได้ โดยเฉพาะในทารกในครรภ์ ซึ่งอาจพิการแต่กำเนิดได้เลยทีเดียว
❁ ลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของประสาทไขสันหลัง ที่มักจะเกิดกับทารกในครรภ์ได้
❁ ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาสมองและถือเป็นสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญต่อสมองเป็นอย่างมาก
❁ เป็นโคเอนไซม์ชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อเรียกว่าเททระไฮโดรโฟเลต ซึ่งจะช่วยให้กรดอะมิโนมีการแตกตัวได้ดีขึ้น
❁ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และช่วยให้เม็ดเลือดมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงสามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นตัวส่งคาร์บอนในการสร้างฮีมอีกด้วย
❁ ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร จึงไม่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและสามารถกระตุ้นการสร้างกรดเกลือได้อย่างดีเยี่ยม
❁ ช่วยส่งไขมันออกจากตับ จึงลดความเสี่ยงโรคไขมันอุดตันในตับได้
❁ ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โคลีนและเปลี่ยนกรดนิโคตินิกให้เป็นเอนเม็ทธิล นิโคตินาไมด์ พร้อมกับขับถ่ายออกไปจากร่างกาย
สินค้าของแท้
ส่งเร็วทันใจ
เปลี่ยน/คืนได้ภายใน 14 วัน
รีวิวมากมายจากผู้ใช้จริง