365

WECARE

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)


     โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)คือ โรคที่พบบ่อยในเด็ก ผู้ป่วยมักมีประวัติแพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือเยื่อบุตาอักเสบ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง มีสาเหตุบางส่วนมาจากพันธุกรรมหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ นอกจากพันธุกรรมแล้วปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สาคัญคือสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคายหรือสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังของผู้ป่วยจะไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ภาวะอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป แห้ง ชื้น สารเคมีที่ระคายผิวหนังและสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น แมลง เชื้อโรค เป็นต้น


ลักษณะอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง 

 
     ผิวหนังโดยทั่วไปของผู้ป่วยจะค่อนข้างแห้ง อาการของโรคจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

 

สาเหตุของภูมิแพ้ทางผิวหนัง 


enlightened สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทาให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น


enlightened เชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทาให้เกิดการติดเชื่อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกาเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย


enlightened ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาวเพราะความชื้นในอากาศต่า อากาศที่แห้งและเย็นจะทาให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและอักเสบมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทาให้เหงื่อออกมากทาให้ผู้ป่วยมีอาการคันและเกิดผื่นผิว หนังอักเสบมากขึ้นได้เช่นเดียวกับฤดูหนาว


enlightened เสื้อผ้า ไม่ควรใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทาจากขนสัตว์เพราะจะทาให้เกิดการค้นเพิ่มมากขึ้น


enlightened สบู่ ผงซักฟอก ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะละลายไขมัน ทาให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้


enlightened อาหาร ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกาเริบได้


การรักษาโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง 


     สำหรับการรักษาภูมิแพ้โดยใช้ยาก็จะรักษาตามอาการและบริเวณที่เป็น โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หากเป็นเยอะทั่วตัว ทางแพทย์หรือเภสัชกรอาจให้ทานยาแก้แพ้และสามารถใช้ร่วมกับยาทาซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่

  1. 1. ยาทาสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids) เช่นยี่ห้อ Dermovate, Betnovate, Elomet, Aristocort
  2. 2. ยาทาแก้แพ้ (Topical antihistamine) เช่นยี่ห้อ Fenistil, Systral พวกนี้จะไม่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม


อย่างไรก็ดีควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสาหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ 


yes วิตามินซี (vitamin c) ช่วยกาจัดอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ (allergen) จากการศึกษาพบว่าเมื่อรับประทานวิตามินซีในขนาดที่สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 mg ต่อวัน) จะสามารถลดความรุนแรงหรือจานวนครั้งในการเกิดภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี


yes สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยกาจัดอนุมูลอิสระซึ่งเกิดสารก่อภูมิแพ้ (allergen สามารถทานร่วมกับวิตามินซีเพื่อเสริมฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของภูมิแพ้ได้ มีหลายชนิดเช่น grape seed, astaxantin, pycnogenol


yes เบต้ากลูแคน (betaglucan) มีคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage โดยกระตุ้นให้ Macrophage สามารถทาลายสิ่งแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มรับประทานวันละ 200 mg


yes นมผึ้ง (Royal Jelly) เป็นสารอาหารสาหรับเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งนางพญา มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย วิตามิน A, C, D, E และวิตามินบีรวม และแร่ธาตุอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย ได้มีการศึกษาพบว่าสารสาคัญในนมผึ้งสามารถต้านเชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในลาคอ, หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) และผิวหนังอักเสบ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงและต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ

 

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งที่สาคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อการรักษาภูมิแพ้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ʕ·ᴥ·ʔ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคือง หากเลี่ยงไม่ได้ ควรระวังให้มีการสัมผัสน้อยที่สุดและทานยาแก้แพ้หากมีอาการ


ʕ·ᴥ·ʔ กาจัดสารก่อภูมิแพ้ในที่พักอาศัยหรือที่ทางาน


ʕ·ᴥ·ʔ ใช้ยาตามแพทย์หรือเภสัชกรสั่งอย่างเคร่งครัด


ʕ·ᴥ·ʔ ตรวจติดตามอาการของภูมิแพ้อย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินความรุนแรงและการปรับเปลี่ยนตัวยา


ʕ·ᴥ·ʔ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปใหเ้หมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทางโรค ดังนี้


     ● การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยง ในกลุ่มสารอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เช่น ขนมปัง ไข่ ถั่ว นม อย่าลืมทานอาหารเสริมที่แนะนาไปด้วย


     ● พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง


     ● ออกกาลังกายเป็นประจา และสม่าเสมอและประเภทของการออกกาลังกายต้องไม่กระตุ้นให้เกิดอาการ ภูมิแพ้เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ และปั่นจักรยาน เป็นต้น


     ● ป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด อยู่ในสถานที่ที่อากาศ ถ่ายเทสะดวกและได้ร้บวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ

 

1.สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย  ศ.นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

2.แนวทางการดูแลรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

จัดทำโดย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สมาคมโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ชมรมแพทย์ผิวหนังเด็กแห่งประเทศไทย

 

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น