365WECARE

กระบอกและเข็มฉีดยาสำหรับอินซูลิน (Insulin Syringe&Needle) 

          กระบอกและเข็มฉีดยาสำหรับอินซูลิน เป็นอุปกรณ์สำหรับการแพทย์และงานทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ผลต่างๆ เช่น ใช้ดูดเลือดมาวิเคราะห์ผลทางการแพทย์หรือใช้ดูดสารเคมีหรือของเหลวมาวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน เป็นต้น โดยทั่วไปเข็มฉีดยาจะมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ตัวกระบอกฉีดยาจะใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา    

      ส่วนประกอบของกระบอกฉีดยาทุกชนิดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 

 1. ส่วนปลายสุด (TIC) ใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา       

 2. ตัวกระบอกฉีดยา (Cylindrical  barrel)  เป็นส่วนที่มีมาตราบอกจำนวนยา

 3. ลูกสูบ (Plunger)  เป็นส่วนที่สวมอยู่ในกระบอกฉีดยา  

ส่วนของกระบอกฉีดยาที่ต้องรักษาให้ปราศจากเชื้อ  คือ ส่วนปลายสุด และตัวลูกสูบ

เข็มฉีดยามีชนิดที่หัวเข็มทำด้วยเหล็กสเตนเลส  หรือเข็มพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

 

ส่วนประกอบของเข็มฉีดยา มีอยู่ 3 ส่วน คือ

  • 1. รอยบากปลายเข็ม ( Bevel )
  • 2. ตัวเข็ม ( Shaft )  คือส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม
  • 3. หัวเข็ม ( Hub )  ใช้สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยา

             การฉีดยา ส่วนของเข็มฉีดยาที่ต้องรักษาไว้ปราศจากเชื้อ คือ บริเวณรอยบากปลายเข็มและตัวเข็ม     การใช้เข็มฉีดยาอินซูลินควรเลือกใช้ขนาดหรือเบอร์เข็มให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ล้างมือให้สะอาดและสวมถุงมือทุกครั้งที่ใช้งานเข็มฉีดยา กดก้านสูบภายในตัวกระบอดฉีดยาจุ่มปลายเข็มฉีดยาในของเหลวหรือก๊าซค่อยๆ ดึงก้านสูบขึ้นเพื่อทำการดูดสารสะลายในปริมาตรที่ต้องการ จากนั้นใช้ปลายเข็มฉีดยาฉีดลงบนผิวหนังหรือภาชนะโดยให้ทำมุมประมาณ 90 องศา หลังใช้งานปลดเข็มฉีดยาออกจากระบอกฉีดแล้วเก็บทิ้งใส่ภาชนะให้เรียบร้อย

อินซูลิน คือฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น เพื่อนำน้ำตาลไปสร้างเป็นพลังงาน แต่ในคนที่เป็นเบาหวานบางคนไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน ซึ่งการฉีดอินซูลินเป็นวิธีที่จำเพาะ ควรเรียนรู้วิธีการฉีดอินซูลินจากแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำถามตามมาอีกมากมายที่ใครหลาย ๆ คนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้อินซูลิน คำถามที่มักพบ ได้แก่

1. จำเป็นต้องเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลิน จริงหรือ

          ไม่จริง การเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากผลการดูดซึมยาในบริเวณที่ฉีดอินซูลินบริเวณต่าง ๆ ไม่เท่ากันส่งผลต่อระดับยาในเลือด

2. ก่อนใช้อินซูลินแบบขวด ต้องเขย่าก่อนใช้จริงหรือ

          ไม่จริง ห้ามเขย่าขวดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟองและทำให้ได้ปริมาณยาไม่ครบตามจำนวน แต่หากเป็นอินซูลินชนิดน้ำขุ่นแขวนตะกอน ให้คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบา ๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด 

3. เข็มอินซูลิน สามารถใช้ซ้ำได้จริงหรือ

          ไม่จริง  เข็มฉีดยาอินซูลินเป็นวัสดุทางการแพทย์ประเภทใช้แล้วทิ้ง (Disposable) ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ ซึ่งการนำมาใช้ซ้ำอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ ดังนั้นหากวัตถุประสงค์การใช้เข็มสำหรับฉีดอินซูลินซ้ำ คือต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว จึงควรให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ และการนำมาใช้ซ้ำควรเป็นความยินยอมของผู้ป่วยเอง โดยห้ามเช็ดแอลกอฮอล์บริเวณหัวเข็ม และห้ามใช้เข็มร่วมกับผู้อื่นเด็ดขาด

4. สามารถเก็บรักษาอินซูลิน ในตู้เย็นบริเวณช่องใส่ผัก ได้จริงหรือ

          ไม่จริง ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง ช่องเก็บผักและบานประตูตู้เย็น โดยบริเวณที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น

 การเก็บรักษาอินซูลิน

        - อินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้ : เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 °C มีอายุการใช้งานตามวันที่ระบุบนฉลาก

        - อนซูลินที่เปิดใช้แล้ว : เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25-30 °C ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้

        - ห้ามเก็บยาไว้ในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือที่มีแสงอาทิตย์ส่องและร้อน หรือห้องที่อุณหภูมิเกิน 30 °C

วิธีการใช้อินซูลินโดยการฉีด มีดังนี้

  • ควรเลือกตำแหน่งในการฉีดที่เหมาะสม เช่น บริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก หากเลือกฉีดบริเวณหน้าท้องต้องเว้นระยะให้ห่างจากสะดืออย่างน้อย 1 – 2 นิ้ว ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ฉีดซ้ำตำแหน่งเดิมและไม่ควรฉีดใกล้ตำแหน่งเดิมในระยะ 1 นิ้ว รวมถึงไม่ฉีดในบริเวณผิวหนังที่มีอาการอักเสบ เป็นแผล รอยผ่าตัด ไฝ รากขน และบริเวณก้อนไขมันใต้ผิวหนัง
     
  • ใช้มือข้างที่ถนัดถือเครื่องมือที่ใช้ในการฉีดอินซูลินอย่างถนัดมือ จากนั้นให้ดึงผิวหนังจากตำแหน่งที่เลือกออกมาให้ตึง โดยไม่ควรดึงหรือบีบแรงจนเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดการตีกลับของยาได้
     
  • ให้ถือเครื่องมือที่ใช้ในการฉีดอินซูลินตั้งฉากกับผิวหนัง จากนั้นค่อยๆ กดเข็มเข้าไปในผิวหนังจนมิดพร้อมๆ กับดันยาเข้าไปด้วย แล้วค้างไว้เป็นเวลา 10 วินาทีก่อนจะค่อยๆ ดึงเข็มออกอย่างเบามือ
     
  • เมื่อดึงเข็มออกเสร็จเรียบร้อย ให้นำสำลีมากดบริเวณที่ฉีดอย่างเบามือ และไม่ควรกดแรงหรือถูวนแรงๆ บริเวณที่ฉีด

 

ปริมาณอินซูลินที่เหมาะสมในการฉีด จะต้องได้รับการประเมินระดับน้ำตาลและแนวโน้มของความไวต่ออินซูลินของแต่ละบุคคลก่อนใช้ โดยเบื้องต้นแพทย์จะให้เริ่มต้นใช้ที่ขนาด 0.4-0.6 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันและจะให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็มักขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่แพทย์วินิจฉัยร่วมด้วย

 

ข้อควรระวังในการใช้อินซูลิน

  • ห้ามใช้ปากกาฉีดอินซูลินหรืออุปกรณ์ฉีดอินซูลินร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด เพราะอาจติดเชื้อต่างๆ ได้ เช่น เชื้อ HIV, เชื้อไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการแพ้ยา รวมถึงอาการแพ้ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น เช่น แพ้สารกันบูด แพ้เนื้อสัตว์ ฯลฯ
  • ผู้ที่สามารถใช้อินซูลินได้ คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจากตับอ่อนถูกทำลาย เป็นต้น
  • ผู้ที่ไม่ควรใช้อินซูลิน คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลต่ำ ผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือสารประกอบของยา เป็นต้น
  • ในระหว่างที่ใช้อินซูลินไม่ควรรับประทานยาตัวอื่นโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางตัวอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ยาแอสไพริน ยารักษาหอบหืด ยาแก้ไข้ แก้ไอ ยารักษาไซนัสอักเสบ เป็นต้น
  • ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่คิดว่าตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการใช้อินซูลิน เนื่องจากระดับอินซูสินสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้
  • หญิงที่ให้นมบุตรสามารถใช้อินซูลินได้ตามปริมาณที่แพทย์กำหนด โดยอินซูลินจะไม่ผ่านทางน้ำนมไปสู่เด็ก

 

ผลข้างเคียงและอาการแพ้อินซูลิน

เบื้องต้นผู้ที่มีผลข้างเคียงหรือมีอาการแพ้อินซูลิน ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

 

  • ในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) มักมีอาการปวดศีรษะ เหงื่อออกผิดปกติ ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ปากหรือริมฝีปากชา หัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล สายตาพร่ามัว เป็นลม เป็นต้น
     
  • ในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) มักมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ รู้สึกหิว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบลอ หน้ามืด เป็นต้น

“คำแนะนำการฉีดยาเบาหวานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์” สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ Anders H. Frid, MD; Gillian Kreugel, DSN; Giorgio Grassi, MD; Serge Halimi, MD; Debbie Hicks, DSN; Laurence J. Hirsch, MD; Mike J. Smith, DSN; Regine Wellhoener, MD; Bruce W. Bode, MD; Irl B. Hirsch, MD; Sanjay Kalra, MD; Linong Ji, MD; and Kenneth W. Strauss, MD, New Insulin Delivery Recommendations. Mayo Clin Proc. 2016;91(9):1231-1255

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น