365WECARE

Bacopa monnieri (พรมมิ)

 

 

พรมมิคืออะไร ทำไมถึงเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ enlightened

 

     พรมมิเป็นพืชสมุนไพรที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และยังสามารถพบได้ในประเทศแถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ศรีลังกา บังคลาเทศ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น  โดยมักจะพบตามที่ชื้นแฉะมีน้ำชุ่มหรือแถวริมตลิ่งต่างๆ   สำหรับในประเทศไทยได้มีหลักฐานการใช้พรมมิเป็นยามาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการกล่าวถึงการใช้พรมมิในตำราโอสถพระนารายณ์ และในอินเดียก็ได้มีการบันทึกในตำราอายุรเวทว่ามีการใช้พรมมิมานานกว่า 3000 ปีมาแล้วเช่นกัน 

 


ประโยชน์และสรรพคุณของพรมมิ yes

 

  1. บำรุงสารสื่อประสาท ในพรมมิมีสารสำคัญกลุ่มอัลคาลอยด์ อย่าง ซาโปนิน ( Saponins ) ไตรเทอร์ปีน ( Trierpenes ) สารบาโคไซด์ เอ ( BacosideS A ) สารบาโคไซด์ บี ( BacosideS B ) บาโคซัปโปไนน์ดี ( Bacosaponines D ) โดยสารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทำให้สารสื่อประสาทในสมองมีปริมาณมากพอที่จะใช้ในการส่งสัญญาณประสาทจากสมองไปยังส่วนต่างๆ และช่วยให้สารการทำงานของสารสื่อประสาทมีความต่อเนื่องส่งผลให้การประมวลผล การคิด ความจำ การเรียนรู้ของสมองดีขึ้น
  2. ยับยั้งการทำลายของเซลล์ประสาท โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในพรมมิจะมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอนุมูลอิสระในการทำลายเซลล์ประสาทและเซลล์สมอง โดยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรส ( Acetylcholinesterase : AchE ) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลล์ประสาทและสมองอย่างได้ผล จึง่ช่วยลดความเสื่อมและการตายของเซลล์ประสาทและสมอง ลดความเสี่ยงและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
  3. ช่วยขยายหลอดเลือด สารสกัดพรมมิ ช่วยขยายขนาดของเส้นเลือดในสมองส่งผลให้การหมุนเวียนของเลือดในสมองดีขึ้น เลือกจึงสามารถนำพาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น เซลล์สมองจึงแข็งแรงและมีอายุยืนยาว ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้มากขึ้นส่งผลให้สมองทำงานดีขึ้น ทั้งความจำ สมาธิและการเรียนรู้
  4. คลายความซึมเศร้า สารสกัดพรมมิช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทและลดการตายของสารสื่อประสาทซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า ดังนั้นการรับประทานสารสกัดพรมมิจึงช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้า

 


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

 

     ในการใช้พรมมิเป็นอาหารและผักจิ้มน้ำพริกคล้ายตำลึง สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่หากเป็นการใช้สารสกัดพรมมิ ควรใช้วันละ 1 เม็ด (300 มิลลิกรัม) หรืออาจรับประทานผักพรมมิ 30 กรัม (50ยอด) ก็จะเท่ากับสารสกัด 1 เม็ดเช่นกัน

 


การศึกษาทางเภสัชวิทยา enlightened

 

  •   การศึกษาผลการฟื้นฟูความจำของสารสกัด triterpenoid saponin จากต้นพรมมิ โดยการป้อนสารสกัด triterpenoid saponin  ชนิดต่างๆ ที่สกัดได้จากพรมมิ ชนิดต่างๆ ที่สกัดได้จากพรมมิขนาด 50 มก./กก. ให้แก่ หนูเม้าส์ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมด้วยการฉีดสาร scopolamine 1 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง พบว่าสารสกัด  triterpenoid saponin ชนิดที่ 3,4 และ 6 ซึ่งได้แก่ bacoside XI, bacoside I และ bacosaponin C ตามลำดับ มีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันการสูญเสียความจำได้  เมื่อให้สารสกัดพรมมิขนาด 20,40 และ 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักในหนูเป็นเวลา 14 วัน ปรากฏว่าหนูมีการเรียนรู้และความจำดีขึ้น ป้องกันการสูญเสียความจำในสัตว์ทดลองที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม สารสกัดพรมมิมีกลไกในการปกป้องเซลล์ประสาท และเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท จากการทดสอบพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังไม่พบว่าสารสกัดพรมมิมีพิษต่อสัตว์ทดลอง  

 

  •   เมื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดพรมมิกับสารสกัดจากใบแปะก๊วย และยา donepezil ซึ่งเป็นยาต้านอัลไซเมอร์ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และความจำของหนูที่แก่ตามธรรมชาติ ผลการทดลองหลังจาก้อนสารสกัดหรือยาติดต่อกันนาน 3 เดือน พบว่า หนูแก่ที่ได้รับสารสกัดพรมมิ (40 มก./กก.) มีการเรียนรู้และความจำเกี่ยวกับสถานที่ และความสามารถในการจดจำสิ่งของได้ดีพอ ๆ กับหนูแก่ที่ได้รับสารสกัดจากใบแปะก๊วย (60 มก./กก.) หรือที่ได้รับยา donepezil (1 มก./กก.) และดีกว่าหนูแก่กลุ่มควบคุมที่ได้รับเฉพาะน้ำกลั่นอย่างมีนัยสำคัญ 

 

  •   ผลของพรมมิต่อระบบหัวใจหลอดเลือด เมื่อให้สารสกัดพรมมิ (40 มก./กก.) หรือสารสกัดแปะก๊วย (60 มก./กก.) ทางปากในหนูแรทเป็นเวลานานติดต่อกัน 2 เดือน พบว่าทั้งสารสกัดพรมมิ และสารสกัดแปะก๊วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตบริเวณหลอดเลือดแดงบนเยื่อหุ้มสมอง โดยมีประสิทธิภาพเท่า ๆ กัน และสารสกัดพรมมิไม่มีผลทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นหัวใจของหนูแรทเปลี่ยนแปลงไป 

 

  • ✿  การศึกษาผลกึ่งเรื้อรัง (subchronic) ของพรมมิต่อความสามารถในการเรียนรู้และความจำในหนูแรท ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์โดยการฉีดสาร colchicines เข้าทางโพรงสมอง (i.c.v.) และกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บของสมองส่วน nucleus basalis magnocellularis ด้วยการฉีดสาร ibotenic acid พบว่าการป้อนสารสกัดมาตรฐานจากพรมมิ (มีสาร bacoside A ประกอบอยู่ 82.0 0.5%) ให้แก่หนูแรทขนาด 5 และ 10 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 14 วัน มีช่วยลดการสูญเสียความจำ ป้องกันการลดลงของ Ach และระดับการทำงานของเอนไซม์ choline acetyltransferase (ChAT) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้สร้าง ACh และระดับ muscarinic cholinergic receptor ที่เป็นตัวรับ Ach ในสมองบริเวณเนื้อสมองชั้นนอกของสมองส่วนหน้า (frontal cortex) และ hippocampus โดยพบว่าการป้อนที่ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว จะเห็นผลชัดเจนทั้งในวันที่ 7 และ 14 ของการศึกษา ส่วนการป้อนที่ขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว จะเห็นผลในวันที่14 ของการศึกษา และเมื่อทดลองให้สารสกัดจากพรมมิขนาด 40 มก./กก. นาน 7 วัน ในสัตว์ทดลองร่วมกับยากันชัก Phenytoin สามารถลดผลข้างเคียงของยาที่ไปทำให้การรับรู้ของสัตว์ทดลองเสียไปได้


 

การศึกษาทางพิษวิทยา

 

     จากการศึกษาความเป็นพิษของพรมมิในอาสาสมัครสุขภาพดี โดยให้รับประทานสารสกัดพรมมิ (BacoMindTM) ขนาด 300 มก./วัน ติดต่อ 15 วัน และตามด้วยขนาด 450 มก./วัน อีก 15 วันไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด แต่มีอาสาสมัครบางรายมีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และมีอาการคลื่นไส้


 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง 

 

 ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับตับและไต ควรระมัดระวังในการใช้พรมมิ และควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ


✿ ในการใช้พรมมิอาจพบอาการข้างเคียงในบางราย เช่น ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น


✿ แม้ว่าพรมมิจะไม่มีความเป็นพิษ แต่ในการใช้ควรใช้แต่พอดีและไม่ควรบริโภคติดต่อกันนานเกินไป

1. Honestdocs. พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ ที่คนรักสุขภาพห้ามพลาด [Website]. 2018[cited 2018 August 15]. Available from: https://www.honestdocs.co/bacopa-monnieri-herb-for-health 2. library.cmu.ac.th. พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ จากตลิ่งสู่ตลาด [Website]. 2018[cited 2018 August 15]. Available from: http://library.cmu.ac.th/faculty/pharmacy/upfile_article/n600028.pdf

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

365wecare call365wecare Line365wecare Facebook365wecare Tiktok

ฝ่ายบริการลูกค้า

080-365-3696

ติดตามเราได้ที่

หน้าหลัก

shopping_cart
0

ตะกร้าสินค้า

แบรนด์

โปรโมชั่น